เรียนจบสร้างโอกาสก้าวหน้าในสายงาน
สร้างการเติบโตในสายอาชีพที่สนใจ
เปิดวิชั่นการศึกษาโทร.
โครงการพิเศษ หลักสูตรปริญญาตรี (B.B.A.) สถาบันรัชต์ภาคย์
สถาบันรัชต์ภาคย์เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนมีศักดิ์และสิทธิ์เทียบเท่ามหาวิทยาลัยของรัฐทุกประการ เปิดดำเนินการเรียนการสอน ในสาขาวิชาต่างๆ มากว่า 20 ปี ได้แก่ บริหารธุรกิจ วิศวกรรมศาสตร์ การศึกษา ศิลปศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันรัชต์ภาคย์เน้นหนักวิชาการระดับสูง ทั้งระดับปริญญาตรี และปริญญาโท มีจุดมุ่งหมายในการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ก้าวหน้าทันสมัยเป็นพลเมืองดีมีคุณธรรมสูงและมีความบริบูรณ์แห่งตน
-
การศึกษาในระดับปริญญาตรี เป็นการศึกษาที่มุ่งพัฒนา "ความรู้ ความสามารถ และทักษะ" ทางวิชาการและทางปฏิบัติที่จำเป็นต่อการนำไปใช้ในการทำงาน และการดำเนินชีวิต เสริมด้วยการสร้างจิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม ตามหลักการ "สร้างความรู้ คู่คุณธรรม นำไปใช้เป็น" พร้อมกับกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้สู่โลกกว้างด้วยกิจกรรมเสริมที่สำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพ
หลักสูตรปริญญาตรี (B.B.A.)
มีวิชาที่น่าสนใจศึกษา 43 วิชา รวม 129 หน่วยกิต โดยแบ่งภาคการศึกษา (เทอม) ออกเป็น 6 ภาคการศึกษาปกติ กับอีก 1 ภาคฤดูร้อน (Summer) ใน 1 ภาคการศึกษา ลงทะเบียนได้ไม่เกิน 7 วิชา หรือ 21 หน่วยกิต ส่วนต้องเรียนวิชาอะไรบ้าง จะทราบจากคู่มือในวันสมัครเข้าศึกษา
รายวิชาที่ศึกษาในระดับปริญญาตรี (B.B.A.) มี 43 วิชา จำนวน 129 หน่วยกิต ประกอบด้วย
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 4 หมวด รวม 33 หน่วยกิต
1.1 กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ 6 หน่วยกิต
BC 101 คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
SC 101 พื้นฐานวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
1.2 กลุ่มวิชาภาษา 15 หน่วยกิต
ENGL 101 ภาษาอังกฤษ 1
ENGL 102 ภาษาอังกฤษ 2
ENGL 201 การอ่านภาษาอังกฤษ
ENGL 202 การเขียนภาษาอังกฤษ
THAI 101 การใช้ภาษาไทย
1.3 กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ 6 หน่วยกิต
LAW 101 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฏหมายธุรกิจ
SOC 255 จรรยาบรรณทางธุรกิจ
1.4 กลุ่มวิชามนุษย์ศาสตร์ 6 หน่วยกิต
HE 201 การพัฒนาสุขภาพ
RC 330 การพัฒนาศักยภาพในการเรียนรู้
2. หมวดวิชาเฉพาะด้าน ประกอบด้วย 3 หมวด รวม 90 หน่วยกิต
2.1 กลุ่มวิชาแกนธุรกิจ 54 หน่วยกิต (ลงทะเบียนให้ครบทุกวิชา)
AC 101 หลักบัญชีขั้นต้น 1
EC 101 หลักเศรษฐศษสตร์เบื้องต้น
BA 102 คณิตศาสตร์ธุรกิจ
BA 203 การภาษีอากร 1
BA 205 บรรษัทภิบาล และจรรยาบรรณธุรกิจ
BA 206 กฏหมายธุรกิจ
BA 207 ประชาคมอาเซียน
BA 301 วิจัยธุรกิจ
EC 201 หลักเศรษฐศาสตร์
BC 312 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
EL 221 ภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจ
FN 221 การเงินธุรกิจ
IM 201 หลักเบื้องต้นการวิเคราะห์เชิงปริมาณ
IM 202 สถิติธุรกิจ
IM 213 การจัดการดำเนินงาน
MG 201 หลักการจัดการ
MG 427 การจัดการเชิงกลยุทธ์
MK 201 หลักการตลาด
2.2 กลุ่มวิชาเอกบังคับ 30 หน่วยกิต (ลงทะเบียนให้ครบทุกวิชา)
AC 202 การบัญชีเพื่อการจัดการ
MG 311 การวางแผนธุรกิจ
MG 312 พฤติกรรมองค์การ
MG 313 ภาวะการเป็นผู้นำ และการจูงใจ
MG 321 การสื่อสารธุรกิจ
MG 323 การจัดการแรงงานสัมพันธ์
MG 325 การจัดการโลจิสติกส์
MG 411 การจัดการโครงการ
MG 421 การควบคุมเพื่อการจัดการ
MG 426 สัมมนาการจัดการ
2.3 กลุ่มวิชาเลือก 6 หน่วยกิต
MG 322 การจัดการธุรกิจขนาดย่อม
MG 412 การจัดการค่าจ้าง เงินเดือน และสวัสดิการ
3. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
SOC 112 สังคมกับการเป็นผู้นำ
SOC 101 เศรษฐกิจพอเพียง
รวมตลอดหลักสูตร เรียน 43 วิชา 129 หน่วยกิต
สถาบันรัชต์ภาคย์
RAJAPARK INSTITUTE
รับสมัครนักศึกษาเข้ารับการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอกออนไลน์ ในยุค New Normal
- หลักสูตรปริญญาโท (M.B.A.)
- หลักสูตรปริญญาตรี (B.B.A.)
- ปริญญาตรีภาคพิเศษ
สนใจสมัครเรียน-สอบถามรายละเอียด
โทร. 086-328-5338 เบอร์เดียว
ทำไมต้องเลือกเรียนที่นี่
อยู่ที่ไหนก็เรียนได้ เรียนผ่านระบบออนไลน์
ส่งงาน การบ้านผ่านออนไลน์ ปรึกษาอาจารย์ผู้สอนได้ตลอดเวลา
กิจกรรม INTERACTIVE ในวิชาที่เรียน ได้แสดงออกวิเคราะห์ สังเคราะห์ ได้รับฟังการแชร์จากผู้ที่มีประสบการณ์จริงๆ เอาไปประยุกต์กับความรู้ที่เรียน
สนใจสมัครเรียน-สอบถามรายละเอียด
โทร. 086-328-5338
เบอร์เดียว
สามารถเลือกวันเรียนได้วันอาทิตย์ วันเสาร์ วันพฤหัส เหมาะกับคนที่มีเวลาน้อย
เรียนเพื่อปรับเงินเดือนเลื่อนตำแหน่ง เทียบโอนได้ เรียนทีละวิชาแล้วสอบสะดวกง่ายกว่า
มีอาจารย์ที่ปรึกษา(TA) แนะแนวติวเทคนิคเรียนจบเร็วได้อย่างมั่นใจ เทียบโอนได้จบเร็วกว่า
ได้กลุ่มเครือข่ายสังคมเพื่อน นักธุรกิจ เจ้าของกิจการ ข้าราชการ ครู พยาบาล ทหาร ตำรวจ นักการเมือง ฯลฯ
ไม่จำกัดอายุเหมาะสำหรับผู้ใหญ่ คนทำงานจนถึงเกษียณแล้วได้มาเรียนเป็นจำนวนมาก
หลักสูตรรับรองโดยสภาวิชาชีพบัญชี สภาวิศวกรรม สกอ.,กพ. กระทรวง จบแล้วรับราชการได้ต่อป.โท-เอกได้
"สนใจสมัครเรียนโปรด Click ที่เมนูติดต่อเราหรือติดต่อสมัครโดยตรงที่ โทร. 086-328-5338 เบอร์เดียว"
สถาบันรัชต์ภาคย์
RAJAPARK INSTITUTE
รับสมัครนักศึกษาเข้ารับการศึกษาออนไลน์
- หลักสูตรปริญญาโท (M.B.A.)
- หลักสูตรปริญญาตรี (B.B.A.)
- ปริญญาตรีภาคพิเศษ
สนใจสมัครเรียน-สอบถามรายละเอียด
โทร. 086-328-5338 เบอร์เดียว
อ่างทอง เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย ตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นจังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตหัตถกรรมพื้นบ้าน เช่น ตุ๊กตาชาววัง งานจักสาน เป็นต้น
ประวัติศาสตร์
อ่างทองในอดีตนั้นมีผู้คนอาศัยอยู่มานานหลายร้อยปี เพราะท้องที่ของอ่างทองเป็นที่ราบลุ่มลักษณะคล้ายอ่าง ไม่มีภูเขา ป่า หรือแร่ธาตุ ได้รับการหล่อเลี้ยงจากแม่น้ำ 2 สาย คือ แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำน้อย ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ได้อาศัยทำการเพาะปลูก อุปโภคบริโภค และคมนาคมตลอดมา
ที่มาของชื่อ
เมืองอ่างทอง ได้ชื่อนี้มาจากไหน มีการสันนิษฐานเป็น 3 นัย
นัยแรกเชื่อว่า คำว่า “อ่างทอง” น่าจะมาจากลักษณะทางกายภาพของพั้นที่นี้ คือเป็นที่ราบลุ่มเป็นแอ่งคล้ายอ่าง ซึ่งเต็มไปด้วยทุ่งนาที่ออกรวงเหลืองอร่ามเหมือนทอง จึงเป็นที่มาของชื่อจังหวัดอ่างทอง และดวงตราของจังหวัด เป็นรูปรวงข้าวสีทองอยู่ในอ่างน้ำ ซึ่งมีความหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารและเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ
นัยที่สองเชื่อว่า อ่างทองน่าจะมาจากชื่อของหมู่บ้านเดิมที่เรียกว่า “บางคำทอง” ตามคำสันนิษฐานของพระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) สมุหเทศาภิบาล มณฑลอยุธยา เมื่อครั้งที่กราบทูลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในคราวเสด็จประพาสลำแม่น้ำน้อยและลำแม่น้ำใหญ่ใน พ.ศ. 2459 ว่า ชื่อของเมืองอ่างทองก็จะมาจากชื่อ บางคำทอง ซึ่งแต่งตั้งครั้งกรุงเก่า ว่าด้วยตามเสด็จพระราชดำเนินเมืองนครสวรรค์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจากกรุงเก่า “ลุถึงบางน้ำชื่อ คำทอง น้ำป่วนเป็นฟอง คว่างคว้าง” และบางกระแสก็ว่า อาจเพี้ยนมาจากชื่อของแม่น้ำลำคลองในย่านนั้น ที่เคยมีชื่อว่า “ปากน้ำประคำทอง” ซึ่งเป็นทางแยกแม่น้ำหลังศาลากลางจังหวัด และส่วนในเข้าไปเรียกว่า “แม่น้ำสายทอง” ซึ่งปัจจุบันตื้นเขินใช้ไม่ได้แล้ว
นัยที่สามเชื่อว่า ชื่ออ่างทองน่าจะมาจากชื่อ บ้านอ่างทอง ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวไว้ในหนังสือชุมนุมพระนิพนธ์เรื่องสร้างเมืองไว้ตอนหนึ่งว่า “เมืองอ่างทองดูเหมือนจะตั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนเรศวร เดิมชื่อเมืองว่า วิเศษไชยชาญ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน้อย ที่ลงมาจากนครสวรรค์ อยู่มาแม่น้ำน้อยตื้นเขิน ฤดูแล้งใช้เรือไม่สะดวก ย้ายเมืองออกมาตั้งริมแม่น้ำพระยาที่บ้านอ่างทองจึงเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองอ่างทอง”
ถึงแม้ว่าชื่อของจังหวัดอ่างทอง จะได้มาตามนัยใดก็ตาม ชื่ออ่างทองนี้เป็นชื่อที่เริ่มมาในสมัยกรุงธนบุรีหรือสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น คือ เมื่อประมาณ 200 ปีที่ผ่านมา ย้อนกลับไปในอดีต สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีนั้น อ่างทองเป็นที่รู้จักในนามของเมืองวิเศษไชยชาญ ดังนั้นการศึกษาความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ของเมืองอ่างทองนั้น หมายถึงการศึกษาความเป็นมาของดินแดนแถบนี้ย้อนกลับไปกว่า 1 พันปี เป็นสมัยที่ชื่อเสียงของเมืองอ่างทองยังไม่ปรากฏ แต่มีหลักฐานแน่ชัดว่า มีดินแดนแถบนี้มานานแล้ว และอาจจะสรุปได้ว่าดินแดนนี้มีลักษณะเด่นชัดอย่างน้อย 2 ประการ คือ ความอุดมสมบูรณ์ที่เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม ทำให้มีมนุษย์ตั้งหลักฐานอยู่กันมานานนับพัน ๆ ปี และเป็นดินแดนที่มีความสำคัญในแง่การเป็นยุทธศาสตร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา
การก่อตั้งเมือง
จังหวัดอ่างทองในสมัยทวารวดีได้มีผู้คนเข้ามาตั้งถิ่นฐานเป็นเมืองแล้ว แต่เป็นเมืองไม่ใหญ่โตนัก หลักฐานที่ยังเหลืออยู่ในปัจจุบันก็คือ คูเมืองที่บ้านคูเมือง ตำบลห้วยไผ่ อำเภอแสวงหา ซึ่งนายบาเซอลีเย นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศส และเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรได้สำรวจพบ สันนิษฐานว่าเป็นเมืองโบราณสมัยทวาราวดี ปัจจุบันนี้บ้านคูเมืองอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอแสวงหาไปทางทิศเหนือ 4 กิโลเมตร ในสมัยสุโขทัย ก็เข้าใจว่าผู้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยเช่นกัน และดินแดนอ่างทองได้รับอิทธิพลจากสุโขทัยด้วย โดยการสังเกตจากลักษณะของพระพุทธรูปสำคัญในท้องถิ่นที่อ่างทองมีลักษณะเป็นแบบสุโขทัยหลายองค์ เช่น พระพุทธไสยาสน์วัดขุนอินทประมูล อำเภอโพธิ์ทอง และพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมกวรวิหาร อำเภอป่าโมก เป็นต้น
ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาระยะต้น ๆ สันนิษฐานว่าอ่างทองคงเป็นชานเมืองของกรุงศรีอยุธยา เพิ่งจะยกฐานะเป็นเมืองมีชื่อว่า “แขวงเมืองวิเศษไชยชาญ” เมื่อประมาณ พ.ศ. 2127 โดยในพระราชพงศาวดารได้กล่าวถึงชื่อเมืองวิเศษไชยชาญเป็นครั้งแรกว่า สมเด็จพระนเรศวรเมื่อครั้งยังทรงเป็นมหาอุปราชและสมเด็จพระเอกาทศรถ ได้เสด็จยกกองทับไปรบกับพระยาพะสิมที่เมืองสุพรรณบุรี พระองค์ได้เสด็จโดยทางเรือจากกรุงศรีอยุธยา ไปทำพิธีเหยียบชิงชัยภูมิตัดไม้ข่มนาม ที่ตำบลลุมพลี พระองค์ได้เสด็จไปประทับที่แขวงเมืองวิเศษไชยชาญอันเป็นที่ชุมพล จึงสันนิษฐานว่า เมืองวิเศษไชยชาญได้ตั้งเมืองในแผ่นดินพระมหาธรรมราชา ตัวเมืองวิเศษไชยชาญสมัยนั้นตั้งอยู่ทางลำแม่น้ำน้อย ฝั่งตะวันออก หมู่บ้านตรงนั้นปัจจุบันยังเรียกว่า “บ้านจวน” แสดงว่าเป็นที่ตั้งจวนเจ้าเมืองเดิม ต่อมา สภาพพื้นที่และกระแสน้ำในแควน้ำน้อยเปลี่ยนแปลงไป การคมนาคมไปมาระหว่างแม่น้ำน้อยกับแม่น้ำใหญ่ (คือแม่น้ำเจ้าพระยา) เดินทางติดต่อไม่สะดวก จึงย้ายที่ตั้งเมืองไปอยู่ที่ตำบลบ้านแห ตรงวัดไชยสงคราม (วัดกระเจา) ฝั่งขวาหรือฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมกับขนานนามให้เป็นสิริมงคลแก่เมืองใหม่ว่า “เมืองอ่างทอง” ส่วนเมืองวิเศษไชยชาญยังคงเป็นเมืองอยู่ตลอดมาจนถึง พ.ศ. 2439 จึงลดลงเป็นอำเภอ เรียกว่า อำเภอไผ่จำศีล ภายหลังจึงเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอวิเศษไชยชาญ และราชการก็ใช้ชื่อ อำเภอวิเศษไชยชาญ มาจนถึงอย่างน้อยวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2509 หลังจากนั้น ก็พบว่า เมื่อ 12 มกราคม พ.ศ. 2509 ราชการก็ใช้ชื่อเป็น อำเภอวิเศษชัยชาญ (ไม่พบหลักฐานคำสั่งให้เปลี่ยนชื่ออำเภอ ในหนังสือราชกิจจานุเบกษา)
กาลล่วงมาถึง พ.ศ. 2356 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้โปรดเกล้าฯ ให้พระยาภูธร สมุหนายกไปเป็นแม่กองทำการเปิดทำนบกั้นน้ำที่หน้าเมืองอ่างทอง เพื่อให้น้ำไหลไปทางคลองบางแก้วแต่ไม่สำเร็จ จึงย้ายเมืองอ่างทองไปตั้งที่ปากคลองบางแก้ว ตำบลบางแก้ว ท้องที่อำเภอเมืองอ่างทองฝั่งซ้ายของแม่น้ำพระยาจนถึงปัจจุบันนี้
สมัยอยุธยา
เมืองอ่างทองมีท้องที่ต่อเนื่องกับกรุงศรีอยุธยา เสมือนเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ชานเมืองหลวง จึงมีประวัติศาสตร์เกี่ยวเนื่องกันหลายตอน เฉพาะที่สำคัญ ๆ มีดังนี้ ราว พ.ศ. 2122 ญาณพิเชียรมาซ่อมสุมคนในตำบลยี่ล้น ขุนศรีมงคลแขวง ส่งข่าวกบฏนั้นมาถวาย สมเด็จพระมหาธรรมราชาโปรดให้พระยาจักรียกกำลังไปปราบปราม ตั้งทัพในตำบลมหาดไทย ญาณพิเชียรและพรรคพวกก็เข้าสู้รบกับพระยาจักรี เจ้าพระยาจักรีเสียชีวิตในการสู้รบ พวกชาวบ้านก็เข้าเป็นพวกญาณพิเชียร ญาณพิเชียรติดเอาเมืองลพบุรี ก็ยกกำลังไปปล้นเมืองลพบุรี จึงเกิดรบกับพระยาสีหราชเดโช ญาณพิเชียรถูกยิงตาย พรรคพวกกบฏก็หนีกระจัดกระจายไป กบฏญาณพิเชียรนับว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญมากเหตุการณ์หนึ่ง ที่ชาวบ้านยี่ล้นและชาวบ้านมหาดไทย แขวงเมืองวิเศษไชยชาญเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย
พ.ศ. 2128 พระเจ้าเชียงใหม่ยกกองทัพมาตั้งที่บ้านสระเกศ ท้องที่ตำบลไชยภูมิ อำเภอไชโย สมเด็จพระนเรศวรกับพระเอกาทศรถยกกองทัพไปถึงตำบลป่าโมก ก็พบทหารพม่าซึ่งลงมาเที่ยวรังแกราษฎรทางเมืองวิเศษไชยชาญ จึงได้เข้าโจมตีทหารพม่าล่าถอยไป พระเจ้าเชียงใหม่จึงได้จัดกองทัพยกลงมา สมเด็จพระนเรศวรจึงดำรัสสั่งให้พระราชมนูคุมกองทัพขึ้นตระเวนดูก่อน กองทัพระราชมนูไปปะทะกับกองทัพพม่าที่บ้านบางแก้ว สมเด็จพระนเรศวรเสด็จขึ้นไปถึงบ้านแห จึงมีดำรสให้ข้าหลวงขึ้นไปสั่งพระราชมนูให้ทำเป็นถอยทัพกลับมา แล้วพระองค์ก็โอบล้อมรุกไล่ตีทัพพม่าแตกทั้งทัพหน้าและทัพหลวง จนถึงที่ตั้งทัพพระเจ้าเชียงใหม่ที่บ้านสระเกศ กองทัพของพระเจ้าเชียงใหม่จึงแตกพ่ายกลับไป
พ.ศ. 2130 พระเจ้ากรุงหงสาวดียกทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยา ทหารไทยได้เอาปืนลงเรือสำเภาขึ้นไประดมยิงค่ายหลวงพระเจ้าหงสาวดี จนพระเจ้าหงสาวดีทนไม่ไหวต้องถอยทัพหลวงกลับขึ้นไปตั้งป่าโมก สมเด็จพระนเรศวรเสด็จโดยขบวนทัพเรือตามตีกองทัพหลวงของพระเจ้าหงสาวดีไปจนถึงป่าโมก จนพม่าแตกพ่ายถอยทัพกลับไป
พ.ศ. 2135 สมเด็จพระนเรศวรกับพระเอกาทศรถยกทัพจากรุงศรีอยุธยาไปตั้งที่ทุ่งป่าโมก แล้วยกทัพหลวงไปเมืองสุพรรณบุรีทางบ้านสามโก้ และทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาที่ตำบลตระพังตรุ หนองสาหร่าย อำเภอดอนเจดีย์ เมืองสุพรรณบุรี จนมีชัยชนะยุทธหัตถีในครั้งนั้น
พ.ศ. 2147 สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถยกกองทัพไปตีกรุงอังวะ เสด็จเข้าพักพลที่ตำบลป่าโมก แล้วเสด็จไปทางชลมารค ขึ้นเหยียบชัยภูมิตำบลเอกราช อำเภอป่าโมก ตัดไม้ข่มนามตามพระราชพิธีของพราหมณ์แล้วยกทัพไป แต่สวรรคตเสียที่เมืองหางหรือเมืองห้างหลวง สมเด็จพระเอกาทศรถนำพระบรมศพกลับกรุงพร้อมด้วยพระเกียรติและในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) พระองค์ได้ปลอมพระองค์เป็นสามัญชนไปในงานฉลองพระอาราม ได้ทรงชกมวยได้ชัยชนะถึง 2 ครั้ง สถานที่เสด็จไปก็คือ บ้านพระจันตชนบท แขวงเมืองวิเศษไชยชาญ เชื่อกันว่างานฉลองวัดที่เสร็จไปนั้นอาจเป็นวัดโพธิ์ถนนหรือวัดถนน ซึ่งเป็นวัดร้างอยู่ในตำบลตลาดกรวด (อำเภอเมืองอ่างทอง) นั่นเอง ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าดินแดนของอ่างทองยังคงความสำคัญต่อเมืองหลวง คือ กรุงศรีอยุธยา เมื่อมีงานนักขัตฤกษ์ของสามัญชนที่เลื่องลือเข้าไปถึงพระราชวังในเมืองหลวง แม้แต่พระมหากษัตริย์ก็ทรงสนพระทัยที่จะทอดพระเนตรและทรงเข้าร่วมด้วยกันอย่างสามัญ
พ.ศ. 2269 ในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ พระองค์ได้เสด็จไปควบคุมชลอพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมก เพราะปรากฏว่าแม่น้ำเจ้าพระยาตรงหน้าวัดป่าโมก น้ำเซาะกัดตลิ่งจนทำให้พระวิหารพระพุทธไสยาสน์อาจพังลงได้ จึงมีรับสั่งให้ทำการชลอพระพุทธไสยาสน์เข้าไปประดิษฐานห่างฝั่งออกไป 150 เมตร กินเวลาทั้งหมดกว่า 5 เดือน
เนื่องจากเมืองอ่างทองเคยเป็นยุทธภูมิระหว่างทหารไทยกับทหารพม่าหลายครั้ง จึงมีบรรพบุรุษของเมืองอ่างทองได้สร้างวีรกรรมอันกล้าหาญในการรบกับพม่าหลายท่าน เช่น นายแท่น นายโชติ นายอิน และนายเมือง ทั้งสี่ท่านเป็นชาวบ้านสีบัวทอง (ตำบลสีบัวทอง อำเภอแสวงหาในปัจจุบัน) และมีนายดอก ชาวบ้านกรับ และนายทองแก้ว ชาวบ้านโพธิ์ทะเล ทั้งสองท่านเป็นชาวเมืองวิเศษไชยชาญ ได้ร่วมกับชาวบ้านของเมืองวิเศษไชยชาญสู้รบกับพม่าอยู่ที่ค่ายบางระจัน ซึ่งสมัยนั้นอยู่ในแขวงเมืองวิเศษไชยชาญ และสนามรบส่วนใหญ่อยู่ในท้องที่อำเภอแสวงหา วีรกรรมอันกล้าหาญชาญชัยของนักรบไทยค่ายบางระจันสมัยนั้น เป็นที่ภาคภูมิใจและประทับอยู่ในความทรงจำของคนไทยทุกคนตลอดมา ประชาชนชาวเมืองอ่างทองจึงพร้อมใจกันสร้างอนุสาวรีย์ เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่นายดอ และนายทองแก้วไว้ที่บริเวณวัดวิเศษไชยชาญ อำเภอวิเศษชัยชาญ โดยที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมารเสด็จพระราชดำเนินมาทรงกระทำพิธีเปิดอนุสาวรีย์เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2520 ดังนั้นในวันที่ 25 มีนาคมของทุกปี ชาวเมืองอ่างทองจึงได้กระทำพิธีวางมาลาสักการะอนุสาวรีย์นายดอก นายทองแก้ว เพื่อเป็นการระลึกถึงคุณความดีในวีรกรรมความกล้าหาญของท่านเป็นประจำทุกปี
อีกครั้งของวีรกรรมของนับรบแขวงเมืองวิเศษไชยชาญ คือ ขุนรองปลัดชูกับกองอาทมาต คือเมื่อปี พ.ศ. 2302 ตรงกับรัชกาลของสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) ขึ้นครองราชสมบัติกรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา ในครั้งนั้น พระเจ้าอลองพญาครองราชสมบัติกรุงอังวะรัตนสิงห์ ปกครองพม่ารามัญทั้งปวง พระองค์ให้เกณฑ์ไพร่พล 8000 ให้มังฆ้องนรธาเป็นนายทัพยกมา ตีเมืองทวาย มะริด และตะนาวศรี พระเจ้าเอกทัศทรงเกณฑ์พล 5000 แบ่งเป็นสองทัพ โดยให้พระราชรองเมืองว่าที่ออกญายมราชคุมทัพใหญ่พล 3000 แลให้ออกญารัตนาธิเบศร์คุมทัพหนุนพล 2000 ในครั้งนั้นมีครูฝึกเพลงอาวุธอยู่ในเมืองวิเศษไชยชาญอยู่ผู้หนึ่ง ชื่อ ครูดาบชู ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศให้เป็นปลัดเมือง กรมการเมืองวิเศษไชยชาญ ชาวบ้านจึงเรียนว่าขุนรองปลัดชู นำกองอาทมาต 400 มาอาสาศึก แลได้ติดตามไปกับกองทัพออกญารัตนาธิเบศร์ เมื่อเดินทางข้ามพ้นเขาบรรทัดก็ได้ทราบว่า เมืองมะริดและตะนาวศรีเสียแก่ข้าศึกแล้ว จึงตั้งทัพรออยู่เฉย ๆ โดยทัพพระราชรองเมืองตั้งอยู่ที่แก่งตุ่มตอนปลายแม่น้ำตะนาวศรี ส่วนออกญารัตนาธิเบศร์ตั้งทัพอยู่ที่เมืองกุยบุรี แต่ให้กองอาทมาตมาขัดตาทัพรอที่อ่าวหว้าขาว
จากนั้นสามวันทัพพม่าเข้าตีทัพไทยที่แก่งตุ่มแตกพ่าย และยกมาเพื่อเข้าตีทัพหนุน กองอาทมาตของขุนรองปลัดชู ได้รับคำสั่งให้ตั้งรับพม่าที่ตำบลหว้าขาวริมทะเล ครั้นพอเพลาเช้า ทัพพม่า 8000 ก็ปะทะกับกองอาทมาต 400 นาย ทัพทั้งสองปะทะกันดุเดือดจนถึงเที่ยง มิแพ้ชนะ แต่ทัพไทยพลน้อยกว่าก็เริ่มอ่อนแรง ขุนรองปลัดชูรบจนสิ้นกำลังถูกทหารพม่ารุมจับตัวไป จากนั้นพม่าให้ช้างศึกเข้าเหยียบย่ำทัพไทยล้มตายเป็นอันมาก กองอาทมาต 400 คนตายแทบจะสิ้นทั้งทัพ เพื่อระลึกถึงวีรกรรมของกองอาสาวิเศษไชยชาญในครั้งนั้น จึงได้มีการสร้างวัดขึ้นเป็นที่ระลึกแก่นักรบกล้าทั้ง 400 คนโดยเรียกกันว่า “วัดสี่ร้อย”
ที่ตั้งและอาณาเขต
จังหวัดอ่างทองเป็นพื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง พิกัดภูมิศาสตร์เส้นรุ้งที่ 14 องศา 35 ลิปดา 12 พิลิปดาเหนือ เส้นแวงที่ 100 องศา 27 ลิปดา ห่างจากกรุงเทพมหานครมาตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 (บางปะอิน-พยุหะคีรี) ระยะทางประมาณ 108 กิโลเมตร และเส้นทางเรือตามแม่น้ำเจ้าพระยาถึงตลาดท่าเตียน ระยะทางประมาณ 120 กิโลเมตร มีรูปร่างลักษณะคล้ายรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีส่วนกว้างตามแนวทิศตะวันออกถึงทิศตะวันตก และส่วนยาวตามแนวทิศเหนือถึงทิศใต้ใกล้เคียงกัน คือ ประมาณ 40 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 968.372 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 605,232.5 ไร่ และมีอาณาเขตดังนี้
- ทิศเหนือติดต่อกับอำเภอค่ายบางระจัน อำเภอพรหมบุรี อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี และอำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี
- ทิศใต้ติดต่อกับอำเภอผักไห่และอำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- ทิศตะวันออกติดต่อกับอำเภอบางปะหัน อำเภอมหาราช และอำเภอบ้านแพรก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- ทิศตะวันตกติดต่อกับอำเภอเมืองสุพรรณบุรี อำเภอศรีประจันต์ อำเภอสามชุก และอำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี
การปกครองส่วนภูมิภาคของจังหวัดอ่างทองแบ่งออกเป็น 7 อำเภอ 73 ตำบล 513 หมู่บ้าน โดยอำเภอทั้ง 7 อำเภอ ได้แก่
- อำเภอเมืองอ่างทอง
- อำเภอไชโย
- อำเภอป่าโมก
- อำเภอโพธิ์ทอง
- อำเภอแสวงหา
- อำเภอวิเศษชัยชาญ
- อำเภอสามโก้