เรียนจบสร้างโอกาสก้าวหน้าในสายงาน
สร้างการเติบโตในสายอาชีพที่สนใจ
เปิดวิชั่นการศึกษาโทร.
โครงการพิเศษ หลักสูตรปริญญาตรี (B.B.A.) สถาบันรัชต์ภาคย์
สถาบันรัชต์ภาคย์เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนมีศักดิ์และสิทธิ์เทียบเท่ามหาวิทยาลัยของรัฐทุกประการ เปิดดำเนินการเรียนการสอน ในสาขาวิชาต่างๆ มากว่า 20 ปี ได้แก่ บริหารธุรกิจ วิศวกรรมศาสตร์ การศึกษา ศิลปศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันรัชต์ภาคย์เน้นหนักวิชาการระดับสูง ทั้งระดับปริญญาตรี และปริญญาโท มีจุดมุ่งหมายในการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ก้าวหน้าทันสมัยเป็นพลเมืองดีมีคุณธรรมสูงและมีความบริบูรณ์แห่งตน
-
การศึกษาในระดับปริญญาตรี เป็นการศึกษาที่มุ่งพัฒนา "ความรู้ ความสามารถ และทักษะ" ทางวิชาการและทางปฏิบัติที่จำเป็นต่อการนำไปใช้ในการทำงาน และการดำเนินชีวิต เสริมด้วยการสร้างจิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม ตามหลักการ "สร้างความรู้ คู่คุณธรรม นำไปใช้เป็น" พร้อมกับกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้สู่โลกกว้างด้วยกิจกรรมเสริมที่สำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพ
หลักสูตรปริญญาตรี (B.B.A.)
มีวิชาที่น่าสนใจศึกษา 43 วิชา รวม 129 หน่วยกิต โดยแบ่งภาคการศึกษา (เทอม) ออกเป็น 6 ภาคการศึกษาปกติ กับอีก 1 ภาคฤดูร้อน (Summer) ใน 1 ภาคการศึกษา ลงทะเบียนได้ไม่เกิน 7 วิชา หรือ 21 หน่วยกิต ส่วนต้องเรียนวิชาอะไรบ้าง จะทราบจากคู่มือในวันสมัครเข้าศึกษา
รายวิชาที่ศึกษาในระดับปริญญาตรี (B.B.A.) มี 43 วิชา จำนวน 129 หน่วยกิต ประกอบด้วย
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 4 หมวด รวม 33 หน่วยกิต
1.1 กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ 6 หน่วยกิต
BC 101 คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
SC 101 พื้นฐานวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
1.2 กลุ่มวิชาภาษา 15 หน่วยกิต
ENGL 101 ภาษาอังกฤษ 1
ENGL 102 ภาษาอังกฤษ 2
ENGL 201 การอ่านภาษาอังกฤษ
ENGL 202 การเขียนภาษาอังกฤษ
THAI 101 การใช้ภาษาไทย
1.3 กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ 6 หน่วยกิต
LAW 101 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฏหมายธุรกิจ
SOC 255 จรรยาบรรณทางธุรกิจ
1.4 กลุ่มวิชามนุษย์ศาสตร์ 6 หน่วยกิต
HE 201 การพัฒนาสุขภาพ
RC 330 การพัฒนาศักยภาพในการเรียนรู้
2. หมวดวิชาเฉพาะด้าน ประกอบด้วย 3 หมวด รวม 90 หน่วยกิต
2.1 กลุ่มวิชาแกนธุรกิจ 54 หน่วยกิต (ลงทะเบียนให้ครบทุกวิชา)
AC 101 หลักบัญชีขั้นต้น 1
EC 101 หลักเศรษฐศษสตร์เบื้องต้น
BA 102 คณิตศาสตร์ธุรกิจ
BA 203 การภาษีอากร 1
BA 205 บรรษัทภิบาล และจรรยาบรรณธุรกิจ
BA 206 กฏหมายธุรกิจ
BA 207 ประชาคมอาเซียน
BA 301 วิจัยธุรกิจ
EC 201 หลักเศรษฐศาสตร์
BC 312 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
EL 221 ภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจ
FN 221 การเงินธุรกิจ
IM 201 หลักเบื้องต้นการวิเคราะห์เชิงปริมาณ
IM 202 สถิติธุรกิจ
IM 213 การจัดการดำเนินงาน
MG 201 หลักการจัดการ
MG 427 การจัดการเชิงกลยุทธ์
MK 201 หลักการตลาด
2.2 กลุ่มวิชาเอกบังคับ 30 หน่วยกิต (ลงทะเบียนให้ครบทุกวิชา)
AC 202 การบัญชีเพื่อการจัดการ
MG 311 การวางแผนธุรกิจ
MG 312 พฤติกรรมองค์การ
MG 313 ภาวะการเป็นผู้นำ และการจูงใจ
MG 321 การสื่อสารธุรกิจ
MG 323 การจัดการแรงงานสัมพันธ์
MG 325 การจัดการโลจิสติกส์
MG 411 การจัดการโครงการ
MG 421 การควบคุมเพื่อการจัดการ
MG 426 สัมมนาการจัดการ
2.3 กลุ่มวิชาเลือก 6 หน่วยกิต
MG 322 การจัดการธุรกิจขนาดย่อม
MG 412 การจัดการค่าจ้าง เงินเดือน และสวัสดิการ
3. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
SOC 112 สังคมกับการเป็นผู้นำ
SOC 101 เศรษฐกิจพอเพียง
รวมตลอดหลักสูตร เรียน 43 วิชา 129 หน่วยกิต
สถาบันรัชต์ภาคย์
RAJAPARK INSTITUTE
รับสมัครนักศึกษาเข้ารับการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอกออนไลน์ ในยุค New Normal
- หลักสูตรปริญญาโท (M.B.A.)
- หลักสูตรปริญญาตรี (B.B.A.)
- ปริญญาตรีภาคพิเศษ
สนใจสมัครเรียน-สอบถามรายละเอียด
โทร. 086-328-5338 เบอร์เดียว
ทำไมต้องเลือกเรียนที่นี่
อยู่ที่ไหนก็เรียนได้ เรียนผ่านระบบออนไลน์
ส่งงาน การบ้านผ่านออนไลน์ ปรึกษาอาจารย์ผู้สอนได้ตลอดเวลา
กิจกรรม INTERACTIVE ในวิชาที่เรียน ได้แสดงออกวิเคราะห์ สังเคราะห์ ได้รับฟังการแชร์จากผู้ที่มีประสบการณ์จริงๆ เอาไปประยุกต์กับความรู้ที่เรียน
สนใจสมัครเรียน-สอบถามรายละเอียด
โทร. 086-328-5338
เบอร์เดียว
สามารถเลือกวันเรียนได้วันอาทิตย์ วันเสาร์ วันพฤหัส เหมาะกับคนที่มีเวลาน้อย
เรียนเพื่อปรับเงินเดือนเลื่อนตำแหน่ง เทียบโอนได้ เรียนทีละวิชาแล้วสอบสะดวกง่ายกว่า
มีอาจารย์ที่ปรึกษา(TA) แนะแนวติวเทคนิคเรียนจบเร็วได้อย่างมั่นใจ เทียบโอนได้จบเร็วกว่า
ได้กลุ่มเครือข่ายสังคมเพื่อน นักธุรกิจ เจ้าของกิจการ ข้าราชการ ครู พยาบาล ทหาร ตำรวจ นักการเมือง ฯลฯ
ไม่จำกัดอายุเหมาะสำหรับผู้ใหญ่ คนทำงานจนถึงเกษียณแล้วได้มาเรียนเป็นจำนวนมาก
หลักสูตรรับรองโดยสภาวิชาชีพบัญชี สภาวิศวกรรม สกอ.,กพ. กระทรวง จบแล้วรับราชการได้ต่อป.โท-เอกได้
"สนใจสมัครเรียนโปรด Click ที่เมนูติดต่อเราหรือติดต่อสมัครโดยตรงที่ โทร. 086-328-5338 เบอร์เดียว"
สถาบันรัชต์ภาคย์
RAJAPARK INSTITUTE
รับสมัครนักศึกษาเข้ารับการศึกษาออนไลน์
- หลักสูตรปริญญาโท (M.B.A.)
- หลักสูตรปริญญาตรี (B.B.A.)
- ปริญญาตรีภาคพิเศษ
สนใจสมัครเรียน-สอบถามรายละเอียด
โทร. 086-328-5338 เบอร์เดียว
อุบลราชธานี มักจะเรียกกันด้วยชื่อสั้นๆ ว่า อุบลฯ อักษรย่อ อบ เป็นจังหวัดขนาดใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นลำดับที่ 2 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และอันดับที่ 5 ของประเทศไทย และมีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของประเทศ นับเป็นจังหวัดที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน มีหลักฐานทั้งประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่เก่าแก่ อาทิ ภาพเขียนสีที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม และยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญหลายแห่ง ประเพณีที่ขึ้นชื่อของจังหวัดนี้คือแห่เทียนพรรษา มีพื้นที่อยู่ติดกับอำนาจเจริญ, ยโสธร, ศรีสะเกษ, ประเทศลาวและประเทศกัมพูชา
จังหวัดอุบลราชธานีตั้งอยู่ในบริเวณแอ่งโคราช โดยมีลักษณะภูมิประเทศที่หลากหลายทั้งภูมิประเทศแบบที่ราบสูง ภูมิประเทศแบบภูเขาสลับซับซ้อนในชายแดนตอนใต้ โดยมีเทือกเขาที่สำคัญคือทิวเขาบรรทัดและทิวเขาพนมดงรัก มีแม่น้ำโขงกั้นระหว่างตัวจังหวัดและประเทศลาว และมีแม่น้ำสำคัญๆ ได้แก่ แม่น้ำมูลและแม่น้ำชี นอกจากนี้ยังมีลำน้ำที่สำคัญๆ หลายสาย อาทิ ลำเซบาย ลำเซบก ลำโดมใหญ่ ลำโดมน้อย
ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ส่วนมากนิยมประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักโดยมีการทำนาข้าวและเพาะปลูกพืชไร่ชนิดต่าง ๆ เช่น ปอแก้ว มันสำปะหลัง ถั่วลิสง มีการเลี้ยงปศุสัตว์ และทำการประมงอยู่เล็กน้อย และยังมีอาชีพอื่นๆ ที่สำคัญด้วย อาทิ อุตสาหกรรมและการค้าการบริการ
ประวัติศาสตร์
สมัยอยุธยาและธนบุรี
เมื่อปี พ.ศ. 2201–2228 เกิดวิกฤติทางการเมืองในนครเชียงรุ้ง เพราะกลุ่มจีนฮ่อธงขาวได้ยกกำลังเข้าปล้นเมืองและเข่นฆ่าผู้คน เจ้านครเชียงรุ้งคือ เจ้าอินทกุมาร เจ้านางจันทกุมารี และ เจ้าปางคำ (เจ้าปางคำได้อพยพไพร่พลมาสร้างเมืองที่หนองบัวลุ่มภูอยู่ก่อนแล้ว ต่อมาจึงได้เสด็จขึ้นไปรับเอาเจ้าทั้งสององค์นั้นแลไพร่พล อพยพมาอยู่ด้วยที่หนองบัวลุ่มภู) ได้อพยพไพร่พลมาขอพึ่งบารมีพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชของเวียงจันทน์ พระเจ้าล้านช้างเวียงจันทน์จึงโปรดให้นำไพร่พลไปตั้งเมืองที่หนองบัวลุ่มภู (ปัจจุบันเป็นจังหวัดหนองบัวลำภู) โดยตั้งชื่อเมืองว่า “นครเขื่อนขันธ์ กาบแก้วบัวบาน”
ต่อมาพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช ให้เจ้าปางคำเสกสมรสกับพระราชนัดดามีโอรส คือ เจ้าพระตา (เจ้าพระวรปิตา) และเจ้าพระวอ (เจ้าพระวรราชภักดี) ซึ่งมีความสำคัญต่อเมืองอุบลราชธานีอย่างยิ่ง เพราะต่อมา พ.ศ. 2314 เกิดสงครามระหว่างเวียงจันทน์กับเมืองหนองบัวลุ่มภู โดยพระเจ้าสิริบุญสาร พระเจ้าแผ่นดินอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ เกิดความขัดแย้งกับเจ้าพระตา เจ้าพระวอ แม้ว่าเจ้าพระตาเจ้าพระวอจะได้เคยให้ความช่วยเหลือเจ้าสิริบุญสาร เมื่อครั้งเกิดการแย่งชิงราชบัลลังก์ในล้านช้างเวียงจันทน์ ด้วยการให้ที่พักพิงและหลบราชภัยในเมืองหนองบัวลุ่มภู(นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน) นานกว่าสิบปี ทั้งยังช่วยยกทัพไปชิงบัลลังก์ล้านช้างเวียงจันทน์จากเจ้านอง (น้องชายต่างบิดาของเจ้าชมพูซึ่งเป็นลูกของพี่ชายของพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช) มาให้แก่เจ้าสิริบุญสารจนได้นั่งเมืองเป็นพระเจ้าล้านช้างเวียงจันทน์ แต่เจ้าสิริบุญสารต้องการมีอำนาจเหนือดินแดนที่แวดล้อมล้านช้างเวียงจันทน์ (ล้านช้างหลวงพระบาง-เมืองหนองบัวลุ่มภู) และมีความระแวงเมืองหนองบัวลุ่มภู ที่มีไพร่พลมาก และมีกำลังทัพที่เก่งกาจสามารถ อีกทั้งเจ้าพระตาเจ้าพระวอ เป็นเชื้อเครือญาติกับพระเจ้าล้านช้างหลวงพระบาง (เจ้ากิ่งกิสราช) ซึ่งมีเชื้อสายเจ้าไทลื้อเมืองเชียงรุ้งสิบสองปันนาเหมือนกัน และได้เคยช่วยเหลือกันมา จากเมื่อคราวที่เกิดการแย่งชิงราชบัลลังก์ในล้านช้างเวียงจันทน์ เจ้าพระตา เจ้าพระวอ ได้พาเจ้าอินทกุมาร เจ้ากิ่งกิสราชและเจ้าอินทโสมไปหลบราชภัยที่เมืองล่าเมืองพงสิบสองปันนา แลล้านช้างหลวงพระบางและล้านช้างเวียงจันทน์ก็เป็นอริต่อกัน ด้วยความหวาดระแวงและการไร้ซึ่งจิตสำนึกต่อผู้มีพระคุณที่ได้ช่วยเหลือตนมาของเจ้าสิริบุญสาร พระองค์จึงต้องการมีอำนาจเหนือเมืองหนองบัวลุ่มภูแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด โดยเจ้าสิริบุญสารได้ขอให้เจ้าพระตาและเจ้าพระวอไปช่วยรักษาการที่ด่านบ้านหินโงมและได้ขอบุตรธิดาของเจ้าพระตา เจ้าพระวอ ไปเป็นนางห้ามและนางสนม (เพื่อเป็นตัวประกันอย่างธรรมเนียมเมืองขึ้นในสมัยนั้น) แต่เจ้าพระตา เจ้าพระวอ ไม่ยอมยกให้ เพราะเมืองหนองบัวลุ่มภูมิได้เป็นเมืองขึ้นแก่เวียงจันทน์ เจ้าพระตาและเจ้าพระวอจึงยกทัพกลับเมืองหนองบัวลุ่มภู ทำให้เจ้าสิริบุญสารใช้เรื่องนี้เป็นข้ออ้างยกกองทัพมาตีเมืองหนองบัวลุ่มภู เจ้าพระตา เจ้าพระวอ ยกกองทัพออกต่อสู้จนกองทัพเวียงจันทน์แตกพ่ายกลับไปหลายครั้ง
สงครามระหว่างเวียงจันทน์กับเมืองหนองบัวลุ่มภู ต่อสู้กินเวลายาวนานถึง 3 ปี ไม่มีผลแพ้ชนะกัน พระเจ้าสิริบุญสารได้ส่งทูตไปขอกองทัพพม่าที่เมืองนคร เชียงใหม่ ให้มาช่วยตีเมืองหนองบัวลุ่มภู โดยมีเงื่อนไขเวียงจันทน์ยอมเป็นเมืองขึ้นของพม่า กองทัพพม่าที่เมืองเชียงใหม่ จึงให้ม่องระแง คุมกองทัพมาช่วยเจ้าสิริบุญสารรบ เมื่อฝ่ายเจ้าพระตาทราบข่าวศึก คะเนคงเหลือกำลังที่จะต้านศึกกองทัพใหญ่กว่าไว้ได้ จึงให้เจ้าคำโส เจ้าคำขุย เจ้าก่ำ เจ้าคำสิงห์ พาไพร่พล คนชรา เด็ก ผู้หญิง พร้อมพระสงฆ์ อพยพมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อหาที่สร้างบ้านแปลงเมืองใหม่ไว้รอท่า หากแพ้สงครามจะได้อพยพติดตามมาอยู่ด้วย
โดยแรกได้มาตั้งเมืองที่บ้านสิงห์โคก บ้านสิงห์ท่า (ปัจจุบันคือจังหวัดยโสธร) และการสู้รบในครั้งสุดท้าย เจ้าพระตาถึงแก่ความตายในสนามรบ เจ้าพระวอผู้เป็นบุตรชายคนโต พร้อมด้วยพี่น้องคือ นางอุสา นางสีดา นางแสนสีชาด นางแพงแสน เจ้าคำผง เจ้าทิตพรหม และนางเหมือนตา ได้หลบหนีออกจากเมืองมารับเสบียงอาหารจากบ้านสิงห์โคก สิงห์ท่า แล้วผ่านลงไปตั้งเมืองที่ “ดอนมดแดง” พร้อมขอพึ่งพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมาร แห่งนครจำปาศักดิ์ ฝ่ายเจ้าสิริบุญสารทราบข่าวการตั้งเมืองใหม่ จึงให้อัคฮาดหำทอง และพญาสุโพ ยกกองทัพมาตีเจ้าพระวอสู้ไม่ได้ และเสียชีวิตในสนามรบ เจ้าคำผงผู้น้องจึงขึ้นเป็นหัวหน้ากลุ่ม พร้อมมีใบบอกลงไปที่เมืองนครราชสีมา และกรุงธนบุรี เพื่อขอพึ่งบารมีพระเจ้ากรุงธนบุรี ซึ่งให้เจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง) และเจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา) ยกกองทัพมาช่วยเจ้าคำผง ด้านพญาสุโพรู้ข่าวศึกของเจ้ากรุงธนบุรี จึงสั่งถอยทัพกลับเวียงจันทน์ แต่เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ ได้เดินทัพติดตามทัพเวียงจันทน์ จนสามารถเข้ายึดเมืองได้สำเร็จ จึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกต พร้อมคุมตัวเจ้าสิริบุญสารไปกรุงธนบุรี ส่วนเจ้าคำผงหลังเสร็จศึกได้กลับไปตั้งเมืองอยู่ที่ดอนมดแดงเหมือนเดิม
จนกระทั่งใน พ.ศ. 2319 เกิดน้ำท่วมใหญ่ เจ้าคำผงจึงอพยพไพร่พลไปอยู่ที่ดอนห้วยแจระแม (ปัจจุบัน คือบ้านท่าบ่อ) รอจนน้ำลด แล้วในปีถัดมา ได้หาทำเลที่ตั้งเมืองใหม่ที่ที่ตำบลบ้านร้าง เรียกว่าดงอู่ผึ้ง ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำมูลอันเป็นที่ตั้งของจังหวัดอุบลราชธานีในปัจจุบัน พร้อมกับได้สร้างพระอารามหลวงขึ้นเป็นวัดแรก
ต่อมา พ.ศ. 2322 พระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดเกล้าฯให้เจ้าพระยาราชสุภาวดี เชิญท้องตราขึ้นมาตั้งเป็นเมืองอุบลราชธานี พร้อมให้เจ้าคำผงเป็นเจ้าเมืองในราชทินนาม “พระประทุมราชวงศา” เจ้าทิตพรหมเป็นพระอุปฮาด เจ้าก่ำเป็นราชวงศ์ เจ้าสุดตาเป็นราชบุตร โดยเป็นคณะอาญาสี่ชุดแรกของเมืองอุบลราชธานี
สมัยรัตนโกสินทร์
ใน พ.ศ. 2334 เกิดขบถอ้ายเชียงแก้วเขาโอง ยกกำลังมาตีเมืองนครจำปาศักดิ์ เจ้าฝ่ายหน้าผู้น้องพระประทุมราชวงศาได้ยกกำลังไปรบ สามารถจับอ้ายเชียงแก้วได้ และทำการประหารชีวิตที่บริเวณแก่งตะนะ และในวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2335 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเมืองอุบลขึ้นเป็นเมืองประเทศราช แต่งตั้งให้พระประทุมราชวงศาเป็นพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (คำผง) ซึ่งนับเป็นเจ้าเมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัยประเทศราชคนแรก อีกทั้งยังพระราชทานพระสุพรรณบัตร และเครื่องยศเจ้าเมืองประเทศราช พร้อมทำพิธีสบถสาบานถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ต่อมาใน พ.ศ. 2338 พระพรหมวรราชสุริยวงศ์ (ทิดพรหม) น้องชายเจ้าพระประทุม ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองอุบลราชธานีคนต่อมา รวมมีเจ้าเมืองอุบลราชธานี ที่พระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งทั้งสิ้น 4 ท่าน
ภายหลังการก่อตั้งเมืองอุบลราชธานีแล้ว ก็ได้มีการตั้งเมืองสำคัญในเขตปกครองของจังหวัดอุบลราชธานีขึ้นอีกหลายเมือง ดังนี้
- พ.ศ. 2357 โปรดฯ ให้ตั้งบ้านโคกพเนียง เป็นเมืองเขมราฐธานี
- พ.ศ. 2366 ยกบ้านนาคอขึ้นเป็นเมืองโขงเจียง (โขงเจียม) โดยขึ้นกับนครจำปาศักดิ์
- พ.ศ. 2388 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกบ้านช่องนางให้เป็นเมืองเสนางคนิคม และยกบ้านน้ำโดมใหญ่ขึ้นเป็นเมืองเดชอุดม ให้หลวงอภัยเป็นหลวงยกบัตรหลวงมหาดไทยเป็นหลวงปลัด ตั้งหลวงธิเบศร์เป็นพระศรีสุระ เป็นเจ้าเมือง รักษาราชการแขวงเมืองเดชอุดม
- พ.ศ. 2390 ตั้งบ้านดงกระชุหรือบ้านไร่ ขึ้นเป็นเมืองบัวกัน ต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็นเมืองบัวบุณฑริก หรืออำเภอบุณฑริกในปัจจุบัน
- พ.ศ. 2401 ตั้งบ้านค้อใหญ่ให้เป็นเมือง ขอแต่งตั้งท้าวจันทบรมเป็นพระอมรอำนาจและเป็นเจ้าเมือง ตั้งท้าวบุตตะเป็นอุปฮาด และให้ท้าวสิงหราชเป็นราชวงศ์ นอกจากนี้ยังให้ท้าวสุริโยซึ่งเป็นราชบุตรรักษาราชการเมืองอำนาจเจริญขึ้นกับเมืองเขมราฐ
- พ.ศ. 2406 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านกว้างลำชะโด เป็นเมืองพิบูลมังสาหารโดยตั้งท้าวธรรมกิติกา (จูมมณี)เป็นพระบำรุงราษฎร์และเป็นเจ้าเมือง และให้ตั้งบ้านสะพือเป็นเมืองตระการพืชผล โดยตั้งท้าวสุริยวงษ์ เป็นพระอมรดลใจและเป็นเจ้าเมือง
- พ.ศ. 2422 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านท่ายักขุเป็นเมืองชานุมานมณฑล และให้ตั้งบ้านเผลา (บ้านพระเหลา) เป็นเมืองพนานิคม
- พ.ศ. 2423 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านนากอนจอ เป็นเมืองวารินชำราบ
- พ.ศ. 2424 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านจันลานาโดม เป็นเมืองโดมประดิษฐ์ (ปัจจุบันเป็นหมู่บ้านที่อำเภอน้ำยืน)
- พ.ศ. 2425 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านทีเป็นเมืองเกษมสีมา ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นอำเภอม่วงสามสิบ
จากเหตุการณ์ก่อตั้งเมืองทั้งหมดนี้ ส่งผลให้อุบลราชธานีเป็นเมืองที่มีเขตการปกครองอย่างกว้างขวางที่สุด ครอบคลุมพื้นที่ราบทางด้านตะวันออกของภาคอีสานตอนล่าง อีกทั้งยังมีแม่น้ำสายสำคัญถึง 3 สายด้วยกัน คือ แม่น้ำชี แม่น้ำมูล และแม่น้ำโขง นอกจากนี้ยังมีแม่น้ำสายเล็ก ๆ ที่มีกำเนิดจากเทือกเขาในพื้นที่ เช่น ลำเซบก ลำเซบาย ลำโดมใหญ่ เป็นต้น โดยแม่น้ำทั้งหลายเหล่านี้ไหลผ่านที่ราบทางด้านเหนือและทางด้านใต้เป็นแนวยาวสู่ปากแม่น้ำมูลและแม่น้ำโขง ให้ความอุดมสมบูรณ์ให้แก่พื้นที่ในบริเวณแถบนี้ทั้งหมด ทำให้เกิดสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์มาแต่ โบราณกาล
ใน พ.ศ. 2476 ได้มีการยกเลิกมณฑลทั้งประเทศ จังหวัดอุบลราชธานีซึ่งแยกออกมาจากมณฑลนครราชสีมาในขณะนั้น ได้กลายเป็นจังหวัดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย หลังจากนั้นจังหวัดอุบลราชธานีก็ได้ถูกแบ่งออก
ใน พ.ศ. 2515 อำเภอยโสธรและอำเภอใกล้เคียงถูกแยกเป็นจังหวัดยโสธร และต่อมาใน พ.ศ. 2536 ได้ถูกแบ่งอีกครั้ง โดยอำเภออำนาจเจริญและอำเภอใกล้เคียงถูกแยกเป็นจังหวัดอำนาจเจริญ
ปัจจุบันจังหวัดอุบลราชธานีมีพื้นที่เป็นอันดับ 5 ของไทย และมีประชากรลำดับที่ 3 ของประเทศ
อาณาเขต
- ทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดอำนาจเจริญและประเทศลาว
- ทิศตะวันออกติดต่อกับแขวงจำปาศักดิ์ (ประเทศลาว) โดยพรมแดนบางช่วงใช้แม่น้ำโขงเป็นตัวกำหนด
- ทิศใต้ติดต่อกับจังหวัดพระวิหาร (ประเทศกัมพูชา)
- ทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดศรีสะเกษและจังหวัดยโสธร
แนวพรมแดนติดต่อกับประเทศลาวและกัมพูชา รวมความยาวประมาณ 428 กิโลเมตร
- ติดต่อกับประเทศลาว 361 กิโลเมตร (จากอำเภอเขมราฐถึงอำเภอน้ำยืน ติดต่อกับแขวงสุวรรณเขต แขวงสาละวัน และแขวงจำปาศักดิ์)
- ติดต่อกับประเทศกัมพูชา 67 กิโลเมตร (อำเภอน้ำยืน ติดต่อกับจังหวัดพระวิหาร ประเทศกัมพูชา)
ภูมิประเทศ
จังหวัดอุบลราชธานีตั้งอยู่ในบริเวณที่เรียกว่า แอ่งโคราช โดยสูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยประมาณ 120-140 เมตร (395-460 ฟุต) ลักษณะโดยทั่วไปเป็นที่สูงต่ำ เป็นที่ราบสูงลาดเอียงไปทางตะวันออกมีแม่น้ำโขง เป็นแนวเขตกั้นจังหวัดอุบลราชธานีกับประเทศลาว มีแม่น้ำชีไหลมาบรรจบกับแม่น้ำมูลซึ่งไหลผ่านกลางจังหวัดจากทิศตะวันตกมายังทิศตะวันออกแล้วไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่อำเภอโขงเจียม และมีลำน้ำใหญ่ๆ อีกหลายสาย ได้แก่ ลำเซบาย ลำเซบก ลำโดมใหญ่ ลำโดมน้อย ห้วยตุงลุง และมีภูเขาสลับซับซ้อนหลายแห่งทางบริเวณชายแดนตอนใต้ ที่สำคัญคือ ทิวเขาบรรทัดและทิวเขาพนมดงรัก ซึ่งกั้นอาณาเขตระหว่างจังหวัดอุบลราชธานีกับประเทศลาวและประเทศกัมพูชา
ลักษณะภูมิสัณฐานของจังหวัดอุบลราชธานี แบ่งออกโดยสังเขป ดังนี้
- บริเวณที่เป็นสันดินริมน้ำเกิดจากตะกอนลำน้ำที่พัดพามาทับถม สภาพพื้นที่เป็นเนินสันดินริมฝั่งแม่น้ำโขง และบางบริเวณสันดินริมฝั่งลำเซบาย
- บริเวณที่เป็นแบบตะพักลำน้ำที่เกิดจากการกระทำของขบวนการของน้ำนานมาแล้ว ประกอบด้วยบริเวณที่เป็นลานตะพักลำน้ำระดับต่ำ ระดับกลาง และระดับสูง ลักษณะพื้นที่ที่มีทั้งที่เป็นที่ราบแบบลูกคลื่นลอนลาดจนถึงลูกคลื่นลอนชัน จะอยู่ถัดจากบริเวณที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงขึ้นมา พื้นที่เหล่านี้จะพบในบริเวณทั่วไปของจังหวัด กล่าวคือทางตอนเหนือ ทางตะวันออก และทางใต้ บางแห่งใช้สำหรับทำนาและบางแห่งใช้สำหรับปลูกพืชไร่
- บริเวณที่เป็นแอ่งหรือที่ลุ่ตวมต่ำหลังลำน้ำเกิดจากการกระทำของน้ำ พบบางแห่งในบริเวณริมแม่น้ำโขง แม่น้ำชี ลำเซบาย และลำโดมใหญ่ จะมีน้ำแช่ขังนานในฤดูฝน
- กำลังของน้ำจะมีมากจนสามารถพัดพาเอาตะกอนเหล่านั้นออกมานอกหุบเขาได้ เมื่อมาถึงนอกหุบเขาหรือเชิงเขา สภาพพื้นที่ก็จะเป็นที่ราบทางน้ำไหลกระจายออกไป ทำให้กำลังของน้ำลดลง ก็จะตกตะกอนในบริเวณน้ำ จะพบอยู่ทางตอนใต้และทางตะวันตกของจังหวัด
- บริเวณที่เป็นเนินที่เกิดจากการไหลของธารลาวาเป็นเนินเขาที่เกิดจากการไหลของธารลาวา ดินบริเวณนี้จะมีศักยภาพทางการเกษตรสูง ซึ่งเป็นผลจากการสลายตัวผุพังของหินบะซอลต์ บริเวณนี้จะพบอยู่ในอำเภอน้ำยืน
- บริเวณที่ลาดเชิงเขาเป็นที่ลาดเชิงเขาที่ตะกอนบริเวณที่เกิดจากการกระทำของน้ำนานมาแล้วทับถมกัน บริเวณนี้จะพบอยู่ในอำเภอโขงเจียม อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอศรีเมืองใหม่ และอำเภอตระการพืชผล
- บริเวณที่ลาดเชิงซ้อนลักษณะเป็นภูเขาหรือทิวเขามีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ จะพบบริเวณทิวเขาพนมดงรักในอำเภอน้ำยืน อำเภอนาจะหลวย และอำเภอบุณฑริก อีกแห่งหนึ่งคือ ทิวเขาภูเขาซึ่งจะพบมากในอำเภอโขงเจียมและอำเภอศรีเมืองใหม่
จังหวัดอุบลราชธานีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 25 อำเภอ 219 ตำบล 2469 หมู่บ้าน ได้แก่
อำเภอเมืองอุบลราชธานี
อำเภอศรีเมืองใหม่
อำเภอโขงเจียม
อำเภอเขื่องใน
อำเภอเขมราฐ
อำเภอเดชอุดม
อำเภอนาจะหลวย
อำเภอน้ำยืน
อำเภอบุณฑริก
อำเภอตระการพืชผล
อำเภอกุดข้าวปุ้น
อำเภอม่วงสามสิบ
อำเภอวารินชำราบ
อำเภอพิบูลมังสาหาร
อำเภอตาลสุม
อำเภอโพธิ์ไทร
อำเภอสำโรง
อำเภอดอนมดแดง
อำเภอสิรินธร
อำเภอทุ่งศรีอุดม
อำเภอนาเยีย
อำเภอนาตาล
อำเภอเหล่าเสือโก้ก
อำเภอสว่างวีระวงศ์
อำเภอน้ำขุ่น