เรียนจบสร้างโอกาสก้าวหน้าในสายงาน
สร้างการเติบโตในสายอาชีพที่สนใจ
เปิดวิชั่นการศึกษาโทร.
โครงการพิเศษ หลักสูตรปริญญาตรี (B.B.A.) สถาบันรัชต์ภาคย์
สถาบันรัชต์ภาคย์เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนมีศักดิ์และสิทธิ์เทียบเท่ามหาวิทยาลัยของรัฐทุกประการ เปิดดำเนินการเรียนการสอน ในสาขาวิชาต่างๆ มากว่า 20 ปี ได้แก่ บริหารธุรกิจ วิศวกรรมศาสตร์ การศึกษา ศิลปศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันรัชต์ภาคย์เน้นหนักวิชาการระดับสูง ทั้งระดับปริญญาตรี และปริญญาโท มีจุดมุ่งหมายในการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ก้าวหน้าทันสมัยเป็นพลเมืองดีมีคุณธรรมสูงและมีความบริบูรณ์แห่งตน
-
การศึกษาในระดับปริญญาตรี เป็นการศึกษาที่มุ่งพัฒนา "ความรู้ ความสามารถ และทักษะ" ทางวิชาการและทางปฏิบัติที่จำเป็นต่อการนำไปใช้ในการทำงาน และการดำเนินชีวิต เสริมด้วยการสร้างจิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม ตามหลักการ "สร้างความรู้ คู่คุณธรรม นำไปใช้เป็น" พร้อมกับกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้สู่โลกกว้างด้วยกิจกรรมเสริมที่สำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพ
หลักสูตรปริญญาตรี (B.B.A.)
มีวิชาที่น่าสนใจศึกษา 43 วิชา รวม 129 หน่วยกิต โดยแบ่งภาคการศึกษา (เทอม) ออกเป็น 6 ภาคการศึกษาปกติ กับอีก 1 ภาคฤดูร้อน (Summer) ใน 1 ภาคการศึกษา ลงทะเบียนได้ไม่เกิน 7 วิชา หรือ 21 หน่วยกิต ส่วนต้องเรียนวิชาอะไรบ้าง จะทราบจากคู่มือในวันสมัครเข้าศึกษา
รายวิชาที่ศึกษาในระดับปริญญาตรี (B.B.A.) มี 43 วิชา จำนวน 129 หน่วยกิต ประกอบด้วย
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 4 หมวด รวม 33 หน่วยกิต
1.1 กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ 6 หน่วยกิต
BC 101 คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
SC 101 พื้นฐานวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
1.2 กลุ่มวิชาภาษา 15 หน่วยกิต
ENGL 101 ภาษาอังกฤษ 1
ENGL 102 ภาษาอังกฤษ 2
ENGL 201 การอ่านภาษาอังกฤษ
ENGL 202 การเขียนภาษาอังกฤษ
THAI 101 การใช้ภาษาไทย
1.3 กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ 6 หน่วยกิต
LAW 101 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฏหมายธุรกิจ
SOC 255 จรรยาบรรณทางธุรกิจ
1.4 กลุ่มวิชามนุษย์ศาสตร์ 6 หน่วยกิต
HE 201 การพัฒนาสุขภาพ
RC 330 การพัฒนาศักยภาพในการเรียนรู้
2. หมวดวิชาเฉพาะด้าน ประกอบด้วย 3 หมวด รวม 90 หน่วยกิต
2.1 กลุ่มวิชาแกนธุรกิจ 54 หน่วยกิต (ลงทะเบียนให้ครบทุกวิชา)
AC 101 หลักบัญชีขั้นต้น 1
EC 101 หลักเศรษฐศษสตร์เบื้องต้น
BA 102 คณิตศาสตร์ธุรกิจ
BA 203 การภาษีอากร 1
BA 205 บรรษัทภิบาล และจรรยาบรรณธุรกิจ
BA 206 กฏหมายธุรกิจ
BA 207 ประชาคมอาเซียน
BA 301 วิจัยธุรกิจ
EC 201 หลักเศรษฐศาสตร์
BC 312 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
EL 221 ภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจ
FN 221 การเงินธุรกิจ
IM 201 หลักเบื้องต้นการวิเคราะห์เชิงปริมาณ
IM 202 สถิติธุรกิจ
IM 213 การจัดการดำเนินงาน
MG 201 หลักการจัดการ
MG 427 การจัดการเชิงกลยุทธ์
MK 201 หลักการตลาด
2.2 กลุ่มวิชาเอกบังคับ 30 หน่วยกิต (ลงทะเบียนให้ครบทุกวิชา)
AC 202 การบัญชีเพื่อการจัดการ
MG 311 การวางแผนธุรกิจ
MG 312 พฤติกรรมองค์การ
MG 313 ภาวะการเป็นผู้นำ และการจูงใจ
MG 321 การสื่อสารธุรกิจ
MG 323 การจัดการแรงงานสัมพันธ์
MG 325 การจัดการโลจิสติกส์
MG 411 การจัดการโครงการ
MG 421 การควบคุมเพื่อการจัดการ
MG 426 สัมมนาการจัดการ
2.3 กลุ่มวิชาเลือก 6 หน่วยกิต
MG 322 การจัดการธุรกิจขนาดย่อม
MG 412 การจัดการค่าจ้าง เงินเดือน และสวัสดิการ
3. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
SOC 112 สังคมกับการเป็นผู้นำ
SOC 101 เศรษฐกิจพอเพียง
รวมตลอดหลักสูตร เรียน 43 วิชา 129 หน่วยกิต
สถาบันรัชต์ภาคย์
RAJAPARK INSTITUTE
รับสมัครนักศึกษาเข้ารับการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอกออนไลน์ ในยุค New Normal
- หลักสูตรปริญญาโท (M.B.A.)
- หลักสูตรปริญญาตรี (B.B.A.)
- ปริญญาตรีภาคพิเศษ
สนใจสมัครเรียน-สอบถามรายละเอียด
โทร. 086-328-5338 เบอร์เดียว
ทำไมต้องเลือกเรียนที่นี่
อยู่ที่ไหนก็เรียนได้ เรียนผ่านระบบออนไลน์
ส่งงาน การบ้านผ่านออนไลน์ ปรึกษาอาจารย์ผู้สอนได้ตลอดเวลา
กิจกรรม INTERACTIVE ในวิชาที่เรียน ได้แสดงออกวิเคราะห์ สังเคราะห์ ได้รับฟังการแชร์จากผู้ที่มีประสบการณ์จริงๆ เอาไปประยุกต์กับความรู้ที่เรียน
สนใจสมัครเรียน-สอบถามรายละเอียด
โทร. 086-328-5338
เบอร์เดียว
สามารถเลือกวันเรียนได้วันอาทิตย์ วันเสาร์ วันพฤหัส เหมาะกับคนที่มีเวลาน้อย
เรียนเพื่อปรับเงินเดือนเลื่อนตำแหน่ง เทียบโอนได้ เรียนทีละวิชาแล้วสอบสะดวกง่ายกว่า
มีอาจารย์ที่ปรึกษา(TA) แนะแนวติวเทคนิคเรียนจบเร็วได้อย่างมั่นใจ เทียบโอนได้จบเร็วกว่า
ได้กลุ่มเครือข่ายสังคมเพื่อน นักธุรกิจ เจ้าของกิจการ ข้าราชการ ครู พยาบาล ทหาร ตำรวจ นักการเมือง ฯลฯ
ไม่จำกัดอายุเหมาะสำหรับผู้ใหญ่ คนทำงานจนถึงเกษียณแล้วได้มาเรียนเป็นจำนวนมาก
หลักสูตรรับรองโดยสภาวิชาชีพบัญชี สภาวิศวกรรม สกอ.,กพ. กระทรวง จบแล้วรับราชการได้ต่อป.โท-เอกได้
"สนใจสมัครเรียนโปรด Click ที่เมนูติดต่อเราหรือติดต่อสมัครโดยตรงที่ โทร. 086-328-5338 เบอร์เดียว"
สถาบันรัชต์ภาคย์
RAJAPARK INSTITUTE
รับสมัครนักศึกษาเข้ารับการศึกษาออนไลน์
- หลักสูตรปริญญาโท (M.B.A.)
- หลักสูตรปริญญาตรี (B.B.A.)
- ปริญญาตรีภาคพิเศษ
สนใจสมัครเรียน-สอบถามรายละเอียด
โทร. 086-328-5338 เบอร์เดียว
จังหวัดยะลา เป็นจังหวัดหนึ่งตั้งอยู่ในภาคใต้ของประเทศไทย มีพื้นที่ 4,521.078 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 532,326 คน อาณาเขตทางใต้ติดกับประเทศมาเลเซีย เป็นจังหวัดเดียวในภาคใต้ที่ไม่ติดทะเล และเป็นจังหวัดที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทย ดังปรากฏในคำขวัญประจำจังหวัดคือ “ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดน”
จังหวัดยะลาเป็นหนึ่งในสี่จังหวัดที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และเป็นหนึ่งในสามจังหวัดที่ประชากรส่วนใหญ่ใช้ภาษามลายูปัตตานีในการสื่อสาร ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายมลายู รองลงมาคือชาวไทยเชื้อสายจีนและชาวไทยพุทธ อย่างไรก็ตามยะลาถือเป็นจังหวัดที่ดำรงความเป็นพหุวัฒนธรรมได้อย่างชัดเจน เพราะมีความแตกต่างกันทั้งด้านเชื้อชาติ ภาษา และศาสนา แต่ชนทุกกลุ่มยังคงรักษาวิถีชีวิตและประเพณีของตนไว้อย่างเหนียวแน่น
เหตุที่เรียกชื่อว่ายะลานั้นเพราะพระยาเมืองคนแรกได้ตั้งที่ทำการขึ้นที่บ้านยะลา คำว่า ยะลา (มลายู: Jala, جالا) หรือสำเนียงภาษามลายูพื้นเมืองเรียกว่า ยาลอ (มลายู: Jalor, جالور, ญาโลร์) แปลว่า “แห” ซึ่งเป็นคำยืมมาจากภาษาบาลี-สันสกฤตว่า ชาละ หรือ ชาลี หมายถึง “แห” หรือ “ตาข่าย” มีภูเขาลูกหนึ่งในเขตอำเภอเมืองยะลามีลักษณะเหมือนแหจับปลา โดยผูกจอมแหแล้วถ่างตีนแหไปโดยรอบ ผู้คนจึงเรียกภูเขานี้ว่า ยะลา หรือ ยาลอ แล้วนำมาตั้งนามเมือง
แต่ตามประวัติศาสตร์ซึ่งได้เขียนไว้ในสมัยเจ็ดหัวเมือง โดยเจ้าผู้ครองเมืองเดิมได้เขียนไว้เป็นประวัติศาสตร์เป็นภาษามลายูว่า “เมืองยะลา” เป็นสำเนียงภาษาอาหรับ โดยชาวอินโดนีเซียที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาอิสลามในบริเวณเจ็ดหัวเมืองซึ่งอยู่ในแหลมมลายูเป็นผู้ตั้งชื่อเมืองไว้
เมืองยะลาเดิมตั้งอยู่ใกล้ภูเขายาลอ ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองยะลาปัจจุบันไปทางทิศตะวันตกประมาณ 12 กิโลเมตร ต่อมาเมืองยะลาได้ยกฐานะเป็นเมือง ๆ หนึ่งของบริเวณเจ็ดหัวเมือง คำว่าเมืองยะลาหรือยาลอ ยังคงเรียกกันจนถึงปัจจุบันนี้
ประวัติ
ยะลาเดิมเป็นท้องที่หนึ่งของเมืองปัตตานี ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้มีการปรับปรุงการปกครองใหม่เป็นการปกครองแบบเทศาภิบาลและได้ออกประกาศข้อบังคับสำหรับปกครอง 7 หัวเมือง รัตนโกสินทรศก 120 ซึ่งประกอบด้วยเมืองปัตตานี หนองจิก ยะหริ่ง สายบุรี ยะลา ระแงะ และรามัน ในแต่ละเมืองจะแบ่งเขตการปกครองเป็นอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ต่อมาในปี พ.ศ. 2447 ประกาศจัดตั้งมณฑลปัตตานีขึ้นดูแลหัวเมืองทั้ง 7 แทนมณฑลนครศรีธรรมราช และยุบเมืองเหลือ 4 เมือง ได้แก่ ปัตตานี ยะลา สายบุรี และระแงะ ต่อมา พ.ศ. 2450 เมืองยะลาแบ่งเขตการปกครองเป็น 2 อำเภอ ได้แก่อำเภอเมืองยะลาและอำเภอยะหา ต่อมา พ.ศ. 2475 ได้มีการยกเลิกมณฑลปัตตานี และในปี พ.ศ. 2476 เมืองยะลาได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นจังหวัดยะลาตามพระราชบัญญัติราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 เรื่อง การจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาค ออกเป็นจังหวัด เป็นอำเภอ และให้มีข้าหลวงประจำจังหวัด และกรมการจังหวัดเป็นผู้บริหารราชการ
ภาษา
จังหวัดยะลาเป็นหนึ่งในสามจังหวัดของประเทศไทยที่ประชากรส่วนใหญ่ใช้ภาษามลายูปัตตานีในการสื่อสาร เป็นสำเนียงที่ใช้ในจังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส และทางตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดสงขลา ภาษานี้มีการใช้อักษรยาวีซึ่งได้รับอิทธิพลจากอักษรอาหรับสำหรับการเขียน สำหรับการเผยแผ่ศาสนาโดยเฉพาะ ทว่าในยุคหลังมานี้มีการยืมคำไทยเข้าปะปนมากขึ้น โดยเฉพาะในสังคมเมืองที่พูดมลายูปนไทย ปัจจุบันมีการส่งเสริมให้ติดป้ายประกาศของสถานที่ราชการเป็นภาษามลายูปัตตานีและอักษรยาวีทั่วไปในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้ชาวไทยพุทธและชาวไทยเชื้อสายจีนบางส่วนสามารถพูดภาษามลายูเพื่อสื่อสารกับคนมลายูซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่
ขณะที่ชาวไทยพุทธจะใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ มีสำเนียงใกล้เคียงกับสำเนียงสงขลา มีลักษณะเช่นเดียวกับภาษาใต้ถิ่นอื่นที่มีการรวบคำให้สั้นกระชับ ทว่ามีลักษณะเด่นคือการออกเสียงที่นุ่มนวลไม่หยาบกระด้างต่างจากภาคใต้ถิ่นอื่น และมีการยืมคำมลายูมาก โดยมีความหนาแน่นของคำยืมจากมลายูมากถึงร้อยละ 75.75 เช่น ซะด๊ะ แปลว่า อร่อย มอแระ แปลว่า สวยงาม และลากู แปลว่า ขายดี
ส่วนชาวไทยเชื้อสายจีน โดยเฉพาะอำเภอเบตงที่มีคนเชื้อสายจีนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก พวกเขาธำรงอัตลักษณ์ความเป็นจีนคือการใช้ภาษาจีน ซึ่งมีอยู่หลายกลุ่มได้แก่ ภาษาจีนกลาง ภาษาจีนกวางไส ภาษาจีนฮกเกี้ยน ภาษาจีนแต้จิ๋ว และภาษาจีนแคะ เช่นประชาชนในชุมชนวัดปิยมิตรที่สามารถสื่อสารภาษาจีนกลางได้ ปัจจุบันคนยุคหลังใช้ภาษาจีนน้อยลง และลูกหลานจีนหลายคนนิยมใช้ภาษาไทยมาตรฐาน แต่บุคคลเชื้อสายจีนในเทศบาลนครยะลาที่อายุต่ำกว่า 50 ปีจะพูดจีนไม่ได้แต่พอฟังรู้ความ
ปัจจุบันชาวไทยพุทธและชาวไทยเชื้อสายจีนในเทศบาลนครยะลาเกินครึ่งพูดภาษาไทยถิ่นใต้ไม่ได้เพราะหันไปพูดภาษาไทยมาตรฐาน ส่วนชาวไทยเชื้อสายมลายูนอกเขตเทศบาลจะพูดภาษาไทยไม่ชัดเจน และหากมีอายุ 70 ปีขึ้นไปจะไม่ได้สามารถพูดภาษาไทยได้เลย
ศาสนา
จังหวัดยะลาเป็นหนึ่งในสี่จังหวัดของไทยที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม แต่ก็เป็นจังหวัดที่มีสัดส่วนของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธมากที่สุดในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีชุมชนชาวคริสต์ขนาดย่อมทั้งนิกายโรมันคาทอลิกและโปรเตสแตนต์ในเขตเทศบาลนครยะลาและเทศบาลเมืองเบตง นอกจากนี้ยังมีชุมชนของผู้นับถือศาสนาซิกข์ขนาดน้อย อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลนครยะลา ส่วนชาวซาไกหันมานับถือศาสนาพุทธโดยให้เหตุผลว่านับถือตามสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี แต่ปัจจุบันยังปะปนไปด้วยความเชื่อพื้นเมือง และแรงงานต่างด้าวชาวพม่าในยะลาที่นับถือศาสนาพุทธและร่วมปฏิบัติศาสนกิจร่วมกับชาวไทยพุทธในท้องถิ่น
จากการสำรวจการนับถือศาสนาเมื่อ พ.ศ. 2542 พบว่า ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 62.79 ศาสนาพุทธร้อยละ 36.40 ศาสนาคริสต์ร้อยละ 0.14 ศาสนาฮินดูร้อยละ 0.01 ศาสนาอื่น ๆ (เช่นศาสนาพื้นบ้านจีน) ร้อยละ 0.01 และไม่ได้ระบุร้อยละ 0.61 ต่อมาใน พ.ศ. 2550 พบว่า มีผู้นับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 75.42 รองลงมาคือศาสนาพุทธร้อยละ 24.25 และศาสนาอื่น ๆ ร้อยละ 0.33 พ.ศ. 2553 พบว่า ประชากรนับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 76.59 ผู้นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 22.74 พ.ศ. 2557 พบว่า ประชากรนับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 79.60 ผู้นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 20.13 และผู้นับถือศาสนาคริสต์และอื่น ๆ ร้อยละ 0.27 และการสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2559 พบว่า ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 74.06 ผู้นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 21.16 และผู้นับถือศาสนาคริสต์และอื่น ๆ ร้อยละ 4.78 และการสำรวจใน พ.ศ. 2562 พบว่าประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 81.46 ศาสนาพุทธลดลงเหลือร้อยละ 18.45 ศาสนาคริสต์ร้อยละ 0.08 ศาสนาซิกข์และอื่น ๆ ร้อยละ 0.01 ชาวพุทธในพื้นที่รู้สึกว่าพวกตนเป็นพลเมืองชั้นสอง หลังการก่อวินาศกรรมด้วยการวางระเบิดถนนสายหลักในปัตตานีเมื่อ พ.ศ. 2555 ส่งผลให้ชาวไทยเชื้อสายจีนและชาวไทยพุทธจำนวนมากอพยพออกจากยะลา ประชากรที่นับถือศาสนาพุทธจึงหดตัวอย่างเฉียบพลัน รวมทั้งวัดหลายแห่งกลายเป็นวัดร้างไม่มีพระสงฆ์เข้าไปจำพรรษา เช่น วัดหัวสะพาน อำเภอเมืองยะลา วัดจินดาพลาราม อำเภอบันนังสตา และวัดปูแหล อำเภอยะหา ซึ่ง พ.ศ. 2563 ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ พยายามฟื้นฟูวัดเหล่านี้ให้มีพระสงฆ์เข้าไปจำพรรษา เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่พุทธศาสนิกชนในพื้นที่ เพื่อสนองพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงว่า “จะปล่อยให้คนไทยอพยพทิ้งถิ่นฐานไม่ได้ จะต้องรักษาพระพุทธศาสนาให้มีความมั่นคง ให้มีความมั่นคงอยู่ในภาคใต้ เพื่อเป็นที่พึ่งทางใจของราษฎรไทยพุทธสืบไป”
สำนักงานสถิติจังหวัดยะลารายงานว่า ใน พ.ศ. 2560 จังหวัดยะลามีมัสยิด 508 แห่ง วัดพุทธ 52 แห่ง สำนักสงฆ์ 13 แห่ง โบสถ์คริสต์ 9 แห่ง และคุรุดวารา 1 แห่ง
วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2562 กลุ่มสมาพันธ์ไทยพุทธจังหวัดยะลา จำนวน 60 คน เรียกร้องให้โรงพยาบาลในจังหวัดยะลาและในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดทำห้องครัวสำหรับไทยพุทธและอาคารสำหรับพระสงฆ์อาพาธ
การปกครองแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ 56 ตำบล 341 หมู่บ้าน
อำเภอเมืองยะลา
อำเภอเบตง
อำเภอบันนังสตา
อำเภอธารโต
อำเภอยะหา
อำเภอรามัน
อำเภอกาบัง
อำเภอกรงปินัง