มิติใหม่ในการศึกษา ที่พัฒนาได้จริง
รับสมัครนักศึกษาปริญญาตรี-ปริญญาโทและปริญญาตรีภาคพิเศษ
เปิดวิชั่นการศึกษาโทร.
โครงการพิเศษ หลักสูตรปริญญาตรี (B.B.A.) สถาบันรัชต์ภาคย์
สถาบันรัชต์ภาคย์เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนมีศักดิ์และสิทธิ์เทียบเท่ามหาวิทยาลัยของรัฐทุกประการ เปิดดำเนินการเรียนการสอน ในสาขาวิชาต่างๆ มากว่า 20 ปี ได้แก่ บริหารธุรกิจ วิศวกรรมศาสตร์ การศึกษา ศิลปศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันรัชต์ภาคย์เน้นหนักวิชาการระดับสูง ทั้งระดับปริญญาตรี และปริญญาโท มีจุดมุ่งหมายในการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ก้าวหน้าทันสมัยเป็นพลเมืองดีมีคุณธรรมสูงและมีความบริบูรณ์แห่งตน
-
การศึกษาในระดับปริญญาตรี เป็นการศึกษาที่มุ่งพัฒนา "ความรู้ ความสามารถ และทักษะ" ทางวิชาการและทางปฏิบัติที่จำเป็นต่อการนำไปใช้ในการทำงาน และการดำเนินชีวิต เสริมด้วยการสร้างจิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม ตามหลักการ "สร้างความรู้ คู่คุณธรรม นำไปใช้เป็น" พร้อมกับกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้สู่โลกกว้างด้วยกิจกรรมเสริมที่สำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพ
หลักสูตรปริญญาตรี (B.B.A.)
มีวิชาที่น่าสนใจศึกษา 43 วิชา รวม 129 หน่วยกิต โดยแบ่งภาคการศึกษา (เทอม) ออกเป็น 6 ภาคการศึกษาปกติ กับอีก 1 ภาคฤดูร้อน (Summer) ใน 1 ภาคการศึกษา ลงทะเบียนได้ไม่เกิน 7 วิชา หรือ 21 หน่วยกิต ส่วนต้องเรียนวิชาอะไรบ้าง จะทราบจากคู่มือในวันสมัครเข้าศึกษา
รายวิชาที่ศึกษาในระดับปริญญาตรี (B.B.A.) มี 43 วิชา จำนวน 129 หน่วยกิต ประกอบด้วย
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 4 หมวด รวม 33 หน่วยกิต
1.1 กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ 6 หน่วยกิต
BC 101 คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
SC 101 พื้นฐานวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
1.2 กลุ่มวิชาภาษา 15 หน่วยกิต
ENGL 101 ภาษาอังกฤษ 1
ENGL 102 ภาษาอังกฤษ 2
ENGL 201 การอ่านภาษาอังกฤษ
ENGL 202 การเขียนภาษาอังกฤษ
THAI 101 การใช้ภาษาไทย
1.3 กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ 6 หน่วยกิต
LAW 101 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฏหมายธุรกิจ
SOC 255 จรรยาบรรณทางธุรกิจ
1.4 กลุ่มวิชามนุษย์ศาสตร์ 6 หน่วยกิต
HE 201 การพัฒนาสุขภาพ
RC 330 การพัฒนาศักยภาพในการเรียนรู้
2. หมวดวิชาเฉพาะด้าน ประกอบด้วย 3 หมวด รวม 90 หน่วยกิต
2.1 กลุ่มวิชาแกนธุรกิจ 54 หน่วยกิต (ลงทะเบียนให้ครบทุกวิชา)
AC 101 หลักบัญชีขั้นต้น 1
EC 101 หลักเศรษฐศษสตร์เบื้องต้น
BA 102 คณิตศาสตร์ธุรกิจ
BA 203 การภาษีอากร 1
BA 205 บรรษัทภิบาล และจรรยาบรรณธุรกิจ
BA 206 กฏหมายธุรกิจ
BA 207 ประชาคมอาเซียน
BA 301 วิจัยธุรกิจ
EC 201 หลักเศรษฐศาสตร์
BC 312 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
EL 221 ภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจ
FN 221 การเงินธุรกิจ
IM 201 หลักเบื้องต้นการวิเคราะห์เชิงปริมาณ
IM 202 สถิติธุรกิจ
IM 213 การจัดการดำเนินงาน
MG 201 หลักการจัดการ
MG 427 การจัดการเชิงกลยุทธ์
MK 201 หลักการตลาด
2.2 กลุ่มวิชาเอกบังคับ 30 หน่วยกิต (ลงทะเบียนให้ครบทุกวิชา)
AC 202 การบัญชีเพื่อการจัดการ
MG 311 การวางแผนธุรกิจ
MG 312 พฤติกรรมองค์การ
MG 313 ภาวะการเป็นผู้นำ และการจูงใจ
MG 321 การสื่อสารธุรกิจ
MG 323 การจัดการแรงงานสัมพันธ์
MG 325 การจัดการโลจิสติกส์
MG 411 การจัดการโครงการ
MG 421 การควบคุมเพื่อการจัดการ
MG 426 สัมมนาการจัดการ
2.3 กลุ่มวิชาเลือก 6 หน่วยกิต
MG 322 การจัดการธุรกิจขนาดย่อม
MG 412 การจัดการค่าจ้าง เงินเดือน และสวัสดิการ
3. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
SOC 112 สังคมกับการเป็นผู้นำ
SOC 101 เศรษฐกิจพอเพียง
รวมตลอดหลักสูตร เรียน 43 วิชา 129 หน่วยกิต
สถาบันรัชต์ภาคย์
RAJAPARK INSTITUTE
รับสมัครนักศึกษาเข้ารับการศึกษา
- หลักสูตรปริญญาโท (M.B.A.)
- หลักสูตรปริญญาตรี (B.B.A.)
- ปริญญาตรีภาคพิเศษ
สนใจสมัครเรียน-สอบถามรายละเอียด
โทร. 086-328-5338 เบอร์เดียว
ทำไมต้องเลือกเรียนที่นี่
การศึกษาที่เข้าเข้าถึงได้ตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล
สนใจสมัครเรียน-สอบถามรายละเอียด
โทร. 086-328-5338
เบอร์เดียว
ทัศนะมุมมองของนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในปัจจุบัน (ปี 2563, Covid-19)
ชาณัฐตา พระสุรัตน์
ผู้บริหาร บริษัท ซัมมิทควีน ประเทศไทย จำกัด
จิตติมา บาร์เรทท์
ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
จำนันท์ จางวางสาย (M.B.A.)
ผู้จัดการภาคบริษัท เอไอเอ ประเทศไทย จำกัด ประธานสมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาทางการเงิน
กฤษรารัณ ป.รัตนาวิทย์
เจ้าหน้าที่ธนาคาร
กัญญาภัทร กันธิยะ (หนุ่ย)
เจ้าของธุรกิจเครื่องแต่งกาย
จิรพัฒน์ ประทีป (M.B.A.)
ผู้จัดการอาวุโส บริษัท รักษาความปลอดภัย พีซีเอสและฟาซิลิตี้ เซอร์วิสเซส จำกัด
พัทธนันท์ ชมภูวัง (M.B.A.)
ผู้จัดการกลุ่มลูกค้าหลัก บริษัท รักษาความปลอดภัย พีซีเอสและฟาซิลิตี้ เซอร์วิสเซส จำกัด
"สนใจสมัครเรียนโปรด Click ที่เมนูติดต่อเราหรือติดต่อสมัครโดยตรงที่ โทร. 086-328-5338 เบอร์เดียว"
สถาบันรัชต์ภาคย์
RAJAPARK INSTITUTE
รับสมัครนักศึกษาเข้ารับการศึกษา
- หลักสูตรปริญญาโท (M.B.A.)
- หลักสูตรปริญญาตรี (B.B.A.)
- ปริญญาตรีภาคพิเศษ
สนใจสมัครเรียน-สอบถามรายละเอียด
โทร. 086-328-5338 เบอร์เดียว
อำนาจเจริญ เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนานจากการค้นพบแหล่งชุมชนโบราณ โบราณสถาน และโบราณวัตถุตามที่กรมศิลปากรค้นพบและสันนิษฐานไว้ตามหลักฐานทางโบราณคดี (ใบเสมาอายุราว 1,000 ปี) และได้ตั้งเป็นเมืองมานานหลายร้อยปี ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นจังหวัดเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2536 พร้อมกับจังหวัดหนองบัวลำภูและจังหวัดสระแก้ว เดิมเป็นอำเภอในจังหวัดอุบลราชธานี ประกอบด้วยอำเภออำนาจเจริญ (ปัจจุบันคึออำเภอเมืองอำนาจเจริญ) อำเภอชานุมาน อำเภอปทุมราชวงศา อำเภอพนา อำเภอหัวตะพาน อำเภอเสนางคนิคม และกิ่งอำเภอลืออำนาจ (ปัจจุบันคืออำเภอลืออำนาจ) คำว่าอำนาจเจริญเป็นภาษาเขมร มีความหมายตามตัว คือ อำนาจเจริญ เมืองที่มีสมญานามว่า เมืองข้าวหอมโอชา ถิ่นเสมาพันปี
อำนาจเจริญ เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนานจากการค้นพบแหล่งชุมชนโบราณ โบราณสถาน และโบราณวัตถุตามที่กรมศิลปากรค้นพบและสันนิษฐานไว้ตามหลักฐานทางโบราณคดี (ใบเสมาอายุราว 1,000 ปี) และได้ตั้งเป็นเมืองมานานหลายร้อยปี ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นจังหวัดเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2536 พร้อมกับจังหวัดหนองบัวลำภูและจังหวัดสระแก้ว เดิมเป็นอำเภอในจังหวัดอุบลราชธานี ประกอบด้วยอำเภออำนาจเจริญ (ปัจจุบันคึออำเภอเมืองอำนาจเจริญ) อำเภอชานุมาน อำเภอปทุมราชวงศา อำเภอพนา อำเภอหัวตะพาน อำเภอเสนางคนิคม และกิ่งอำเภอลืออำนาจ (ปัจจุบันคืออำเภอลืออำนาจ) คำว่าอำนาจเจริญเป็นภาษาเขมร มีความหมายตามตัว คือ อำนาจเจริญ เมืองที่มีสมญานามว่า เมืองข้าวหอมโอชา ถิ่นเสมาพันปี
อาณาเขต
- ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดยโสธรและจังหวัดมุกดาหาร
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับประเทศลาว (โดยมีแม่น้ำโขงไหลคั่น) และจังหวัดอุบลราชธานี
- ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดอุบลราชธานี
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดยโสธร
ประวัติศาสตร์
เมื่อปี พ.ศ. 2357 เจ้าพระพรหมวรราชสุริยวงศ์ เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนที่ 2 (ต้นสายสกุล " พรหมวงศานนท์ " ) ได้มีใบบอกลงไปกราบทูลพระกรุณาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ขอพระราชทานตั้งบ้านโคกก่งดงพะเนียง เป็นเมืองเขมราษฎร์ธานี พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านโคกก่งดงพะเนียงเป็นเมืองเขมราษฎร์ธานี ตามที่พระพรหมวรราชสิริยวงศากราบทูล และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อุปฮาดก่ำ บุตรชายคนโตของพระวอจากเมืองอุบลราชธานี มาเป็นเจ้าเมืองเขมราษฎร์ธานี ได้รับสถาปนาเป็นพระเทพวงศา (ก่ำ) (2357-2369)
ต่อมาในปี พ.ศ. 2369 เกิดศึกระหว่างกรุงเทพมหานครกับกองทัพเจ้าอนุวงศ์ เจ้านครจำปาศักดิ์ได้ยกทัพมายึดเมืองเขมราษฎร์ธานี ขอให้พระเทพวงศา (ก่ำ) เข้าเป็นพวกด้วย แต่พระเทพวงศาไม่ยอมจึงถูกประหารชีวิต พระเทพวงศา (ก่ำ) มีบุตร 4 คน บุตรชายคนหนึ่งคือพระเทพวงศา (บุญจันทร์) มีบุตรชาย 2 คน คือ ท้าวบุญสิงห์และท้าวบุญชัย ต่อมาท้าวบุญสิงห์ได้เป็นเจ้าเมืองเขมราษฎร์ธานี มียศเป็นพระเทพวงศา (บุญสิงห์) มีบุตรชาย 2 คน คือ ท้าวเสือและท้าวพ่วย ต่อมาท้าวพ่วยได้รับการแต่งตั้งเป็นท้าวขัตติยะ และเป็นเจ้าเมืองเขมราษฎร์ธานีลำดับที่ 5 ตำแหน่งพระเทพวงศา (พ่วย) ส่วนท้าวเสือได้รับยศเป็นท้าวจันทบุฮมหรือจันทบรม ต่อมาในปี พ.ศ. 2401 ได้กราบบังคมทูลยกฐานะบ้านค้อใหญ่ (ปัจจุบันอยู่ในท้องที่อำเภอลืออำนาจ) ขึ้นเป็นเมือง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะบ้านค้อใหญ่ขึ้นเป็นเมือง ให้ชื่อว่า เมืองอำนาจเจริญ เมื่อ พ.ศ. 2401 และโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวจันทบรม (เสือ) เป็นเจ้าเมือง มียศเป็นพระอมรอำนาจ (สายสกุลอมรสิน) ดังปรากฏตราสารตั้งเจ้าเมืองอำนาจเจริญ
เมืองอำนาจเจริญจึงได้รับการสถาปนาเป็นเมืองตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา โดยขึ้นการบังคับบัญชาของเจ้าเมืองเขมราษฎร์ธานี โดยมีท้าวจันทบุรม (เสือ) มีพระอมรอำนาจ ซึ่งเป็นบุตรชายของพระเทพวงศา (ท้าวบุญสิงห์) เจ้าเมืองเขมราษฎร์ธานี และเป็นหลานเจ้าพระวอ เจ้าเมืองอุบลราชธานี เป็นเจ้าเมืองอำนาจเจริญคนแรก นับว่าเมืองอำนาจเจริญเป็นเชื้อสายของเจ้าพระวอพระตาโดยตรง
ต่อมา ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงปฏิรูปการปกครองให้เข้าสู่ระบบการบริหารราชการแผ่นดินแบบยุโรปตามแบบสากล เป็นเทศาภิบาล เมื่อ พ.ศ. 2429-2454 โดยยกเลิกการปกครองแบบเดิมที่ให้มีเจ้าเมือง พระอุปราช ราชวงศ์ และราชบุตร ที่เรียกว่า อาญาสี่
นับแต่ปี พ.ศ. 2429-2454 ได้ยกเลิกการปกครองแบบเก่า คือ ยกเลิกตำแหน่งอาญาสี่สืบสกุลในการเป็นเจ้าเมืองนั้นเสีย จัดให้ข้าราชการจากราชสำนักในกรุงเทพมหานครมาปกครอง เปลี่ยนชื่อตำแหน่งผู้ปกครองจากเจ้าเมืองมาเป็นผู้ว่าราชการเมืองแทน และปรับปรุงการปกครองหัวเมืองมณฑลอีสาน จึงยุบเมืองเล็กเมืองน้อยรวมเป็นเมืองใหญ่ ยุบเมืองเป็นอำเภอ เช่น เมืองเขมราษฎร์ธานี เมืองยศ (ยโสธร) เมืองฟ้าหยาด (มหาชนะชัย) เมืองลุมพุก (คำเขื่อนแก้ว) เมืองขุหลุ (ตระการพืชผล) เมืองอำนาจเจริญ ไปขึ้นการปกครองกับเมืองอุบลราชธานี ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา อำเภออำนาจเจริญ จึงได้แต่งตั้งนายอำเภอปกครอง
นายอำเภอคนแรก คือ รองอำมาตย์โทหลวงเอนกอำนาจ (เป้ย สุวรรณกูฏ) พ.ศ. 2454-2459 ต่อมาประมาณ พ.ศ. 2459 ย้ายตัวอำเภอจากที่เดิม (บ้านค้อ บ้านอำนาจ อำเภอลืออำนาจในปัจจุบัน) มาตั้ง ณ ตำบลบุ่งซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองในปัจจุบัน ตามคำแนะนำของพระยาสุนทรพิพิธ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเลขามณฑลอีสาน ได้เดินทางมาตรวจราชการโดยใช้เกวียนเป็นพาหนะ มีความเห็นว่าหากย้ายอำเภอมาตั้งใหม่ที่บ้านบุ่งซึ่งเป็นชุมชนและชุมทางสี่แยกระหว่างเมืองอุบลราชธานีกับมุกดาหาร และเมืองเขมราฐกับเมืองยศ (ยโสธร) โดยคาดว่าจะมีความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปในอนาคต โดยใช้ชื่อว่า อำเภอบุ่ง [เสนอแนะย้ายพร้อมกับอำเภอเดชอุดม ย้ายจากเมืองขุขันธ์ (ในเขตจังหวัดศรีสะเกษปัจจุบัน) มาขึ้นกับจังหวัดอุบลราชธานี] และยุบเมืองอำนาจเจริญเดิมเป็นตำบลชื่อว่าตำบลอำนาจ ซึ่งชาวบ้านนิยมเรียกว่า "เมืองอำนาจน้อย" อยู่ในเขตท้องที่อำเภอลืออำนาจในปัจจุบัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2482 จึงเปลี่ยนชื่อจากอำเภอบุ่งเป็น "อำเภออำนาจเจริญ" ขึ้นการปกครองกับจังหวัดอุบลราชธานี
ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดอำนาจเจริญ พุทธศักราช 2536 ซึ่งมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2536 ตรงกับวันพุธ แรม 3 ค่ำ เดือน 12 ปีระกา ให้แยกอำเภออำนาจเจริญ อำเภอชานุมาน อำเภอปทุมราชวงศา อำเภอพนา อำเภอหัวตะพาน อำเภอเสนางคนิคม และกิ่งอำเภอลืออำนาจ (ปัจจุบันอำเภอลืออำนาจ) รวม 6 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ ออกจากการปกครองจังหวัดอุบลราชธานีรวมกันขึ้นเป็นจังหวัดใหม่ชื่อว่า จังหวัดอำนาจเจริญ และยกฐานะอำเภออำนาจเจริญเป็น อำเภอเมืองอำนาจเจริญ (ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ หน้า 4-5-6 เล่ม 110 ตอนที่ 125 ลงวันที่ 2 กันยายน 2536)
เหตุการณ์สำคัญของจังหวัด
เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๐๘ - ๒๕๒๑ ในพื้นที่รอยต่อระหว่างอำเภอเสนางคนิคม อำเภอชานุมาน อำเภอเขมราฐ อำเภอดอนตาล และอำเภอเลิงนกทา ได้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองเป็นพื้นที่สีชมพู ศูนย์กลางขบวนการอยู่ภายในเขตภูสระดอกบัว มีการจัดตั้งกองกำลังติดอาวุธ เพื่อต่อสู้กับทางราชการ หมู่บ้านที่มีการจัดตั้งกองกำลังมากที่สุดคือ บ้านโพนทอง บ้านโป่งหิน บ้านหนองโน บ้านสามโคก บ้านน้อยดอกหญ้า บ้านนาไร่ใหญ่ และบ้านนาสะอาด ทั้งหมดอยู่ในเขตอำเภอเสนางคนิคม กองกำลังติดอาวุธอาศัยอยู่ในป่าภูโพนทอง ภูสระดอกบัว ภารกิจหลักของกองกำลังติดอาวุธคือ การหามวลชนเพิ่ม การยึดพื้นที่เพื่อแสดงอำนาจ และขยายอาณาเขตการทำงาน โดยจัดกำลังเข้าปะทะกับกองกำลังของทางราชการด้วยอาวุธสงคราม
การจัดงานบุญงานประเพณีต่าง ๆ ในเวลานั้นไม่สามารถจัดในเวลากลางคืนได้ จะทำได้เฉพาะเวลากลางวันเท่านั้น การพัฒนาต่าง ๆ หยุดชะงักลง
ความขัดแย้งและการต่อสู้ค่อย ๆ ลดลง และยุติการต่อสู้ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๒ เหตุผลที่ยุติคือ ทางราชการได้กระจายความเจริญเข้าสู่พื้นที่ ทราบความต้องการและเข้าใจปัญหาของประชาชน ให้ความช่วยเหลือกลุ่มที่เคยต่อสู้กับทางราชการ โดยการจัดหาที่ทำกินให้ และลดเงื่อนไขแห่งความขัดแย้งต่าง ๆ ลง นอกจากนั้นสัญญาที่พรรคคอมมิวนิส์เคยให้ไว้ แก่ประชาชนที่เข้าร่วมขบวนการว่า พรรคจะให้เงิน รถไถนา และรถแทรกเตอร์ ตลอดทั้งยศ ตำแหน่งต่าง ๆ เป็นเพียงโฆษณาชวนเชื่อ ทำให้กลุ่มผู้หลงผิดไม่เชื่อถือ และกลับใจให้ความร่วมมือกับทางราชการ ตั้งแต่นั้นมา
เหตุการณ์กบฏผีบุญที่อำเภอเสนางคนิคม
ในปี พ.ศ. ๒๔๔๓ เกิดขึ้นที่บ้านหนองทับม้า ก่อนนั้นได้มีข่าวลือไปทั่วแดนอีสานว่า หินกรวด ที่อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จะกลับมากลายเป็นเงินเป็นทอง ทำให้มีคนทั่วทุกสารทิศหลั่งไหลไปที่อำเภอเสลภูมิ ชาวบ้านหนองทับม้า ก็เดินทางไปด้วย และในช่วงเวลาเดียวกัน ก็ได้มีข่าวลือแพร่กระจายออกไปว่า ฟักทองน้ำเต้า จะกลับกลายเป็นช้าง เป็นม้า ควายเผือก ควายทุยจะกลับมาเกิดเป็นยักษ์กินคน ท้าวธรรมิกราชจะมาเกิดเป็นเจ้าโลก ผู้หญิงที่เป็นโสดให้รีบมีสามี มิฉะนั้นจะถูกยักษ์จับไปกิน บ้านเมืองจะเกิดเภทภัยใหญ่หลวง ข่าวลือนี้ทำให้ชาวบ้านหวาดกลัวแตกตื่นไปทั่ว
ขณะนั้น ได้มีผู้อ้างตัวเป็นผู้วิเศษ เดินทางมาจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ชื่อ องค์มั่น และองค์เขียว แต่งตัวนุ่งขาวห่มขาวด้วยผ้าจีบต่าง ๆ กัน มีปลอกใบลานเป็นคาถาสวมศีรษะ ปรากฏตัวที่บ้านสะพือ อำเภอตระการพืชผล ให้ชาวบ้านมารดน้ำมนต์ และให้ผู้วิเศษเสกคาถาอาคมให้ นอกจากนั้นยังมีข่าวอีกกระแสหนึ่งบอกว่า ผู้วิเศษเหล่านั้นได้เตรียมการ จะยกทหารจากเวียงจันทน์เข้ามาตีเมืองอุบลราชธานี
เมื่อข้าหลวงใหญ่ต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลลาวกาว ทราบข่าวจึงได้ขอกำลังจากหัวเมืองต่าง ๆ มาช่วยจนปราบได้ราบคาบ และจับผู้นำคนสำคัญคือ องค์มั่น กับองค์เขียว มาผูกมัดไว้บริเวณทุ่งศรีเมือง ถึงเจ็ดวันเจ็ดคืน คณะตุลาการจึงได้ตัดสินประหารชีวิต โดยตัดหัวเสียบประจานไว้ที่กลางทุ่งศรีเมือง
ส่วนทางเมืองเสนางคนิคมนั้น ก็ได้มีเหตุการณ์คล้าย ๆ กันคือ ได้มีพ่อใหญ่พิมสาร เดินทางมาจากบ้านด่านหนองสิบ อำเภอเลิงนกทา อ้างว่าเป็นผู้วิเศษ หลอกลวงให้ชาวบ้านโกนหัว ถ้าใครไม่ทำตามยักษ์จะจับเอาไปกิน และหากครัวเรือนใดมีควายเผือก ควายทุยให้เอาไปฆ่าทิ้งเสีย เมื่อทางราชการเมืองอุบล ฯ ทราบข่าวจึงให้ทหารและเจ้าหน้าที่ ออกไปสืบข่าวได้ความว่า ผู้ที่หลอกลวงชาวบ้านให้โกนหัวคือ เฒ่าพิมสาร และพ่อใหญ่ทิม จึงจับตัวไปมัดไว้ที่นาหนองกลาง อีกสามวันต่อมาก็ถูกประหาร และนำหัวไปเสียบประจานไว้ ทางด้านตะวันออกของวัดโพธาราม
การปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งออกเป็น 7 อำเภอ 56 ตำบล 653 หมู่บ้าน
อำเภอเมืองอำนาจเจริญ
อำเภอชานุมาน
อำเภอปทุมราชวงศา
อำเภอพนา
อำเภอเสนางคนิคม
อำเภอหัวตะพาน
อำเภอลืออำนาจ